ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแนวใหม่ (4C’s) และรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ ของผู้บริโภค ในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแนวใหม่ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี และ 2) ศึกษาปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานี ที่เคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 450 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองผู้บริโภค ด้านความต้องการของผู้บริโภค ด้านความสะดวกในการซื้อ และด้านการสื่อสาร ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ 2) รูปแบบการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรม และด้านความสนใจ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กิตติอำพล สุดประเสริฐ, พิชชรัตน์ รื่นพจน์, และ วัชระพล วงศ์จันทร์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมน เพื่อบริการรับส่งอาหาร ในเขตอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 2(2), 51-60.
ฉัตยาพร เสมอใจ และ ฐิตินันท์ วารีวนิช. (2551). หลักการตลาด (Principle of marketing). ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชนชญาน์ จันทร์ธิวัตรกุล. (2562). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทรนด์อาหารเทรนด์สุขภาพยุค New Normal. (2563, 4 ธันวาคม). กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/social/910930
ณัฐกฤตา นันทะสิน. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและความภักดีต่ออาหารเพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 16(29), 3–18.
ณัฐพงค์ พรเดชเดชะ และ สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 22-35.
ธนวัต วังอมรมิตร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความภักดีของลูกค้าไอโฟนในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4362
ธนาธร เพิ่มกำลังทรัพย์, อำพล นววงศ์เสถียร, และ ปฏิมา รุ่งเรือง. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 7(2), 16-28.
บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด. (2564, 30 กรกฎาคม). เต็ดตรา แพ้ค เผยรายงานเชิงลึกเทรนด์ดิพิเดีย ประจำปี 2564 ชี้การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ผู้บริโภคในปีนี้. https://www.tetrapak.com/en-th/about-tetra-pak/news-and-events/newsarchive/tetra-pak-unveils-trendipedia-2021
ภัทรวุฒิ ปิ่นเนียม. (2565). คุณภาพบริการ ภาพลักษณ์ตราสินค้า และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนตราสินค้าของผู้บริโภคในการใช้แอปพลิเคชันบริการรับสั่งอาหาร [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
มาร์เก็ตติ้งอุ๊ปส์. (2564, 3 กรกฎาคม). เผยอินไซต์ Food delivery ช่วงโควิดระลอก 3 ใครคือลูกค้าหลัก-เมนูไหนฮิต-ช่วงใดขายดีสุด และร้านอาหารควรปรับตัวอย่างไร. https://www.marketingoops.com/news/insight-food-delivery-covid-19/
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564, 15 ธันวาคม) ETDA เผยโควิด-19 เป็นเหตุสังเกตได้ Gen Z ใช้เน็ตสูงสุด ปีแรก ชนะ Gen Y แชมป์ 6 สมัย. https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx
อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม และ เพ็ญศิรินทร์ สุขสมกิจ. (2564). ส่วนผสมทางการตลาด คุณภาพบริการ และทัศนคติของผู้บริโภคในการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(1), 49-64.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2009). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson Prentice Hall.
Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning, implementation, and control (9th ed.).
Prentice Hall.
Lauterborn, B. (1990). New marketing litany: four Ps passe; C-words take over. Advertising Age, 61(41), 26.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). McGraw-Hill.
Plummer, J. T. (1974). The concept and application of life style segmentation. Journal of Marketing, 38(1), 33-37.