รูปแบบการสื่อสารและการสื่อสารอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสื่อสารของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง
2) ศึกษาการสื่อสารอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทางการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มผู้นำของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ที่มีตำแหน่งภายในศูนย์ประสานงานสมาคมลัวะแห่งประเทศไทย จำนวน 4 ท่าน
2) กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ที่อาศัยอยู่ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ท่าน และ 3) กลุ่มประชาชนทั่วไปที่พักอาศัย
อยู่ใกล้เคียงกัน และทำงานร่วมกันในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ท่าน รวมทั้งหมด 12 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. รูปแบบการสื่อสารของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ เป็นการสื่อสารแบบสองทาง มีลักษณะการสื่อสารแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีทิศทางการไหลของข่าวสารจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน และแบบแนวราบ
- การสื่อสารอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะจะเป็นการสื่อสารอัตลักษณ์ผ่านสื่อบุคคล ทั้งด้าน การแต่งกาย ด้านภาษา ด้านอาหาร ด้านวิถีชีวิต สื่อพื้นบ้าน สื่อประเพณี และสื่อพิธีกรรม
- ความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะจะเป็นความสัมพันธ์แบบเป็นพี่ เป็นน้อง เปรียบเหมือนเครือญาติ การสื่อสารจะเป็นลักษณะแบบไม่เป็นทางการ แต่หากมองอีกด้านของกลุ่มภายนอกชาติพันธุ์ลัวะ จะพบว่าความสัมพันธ์จะเป็นลักษณะคนนอกพื้นที่ เป็นเพียงคนรู้จัก หรือผู้ร่วมงาน การสื่อสารจะเป็นลักษณะแบบเป็นทางการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรรณิการ์ วรหาร. (2556). การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นเวียดนามของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในหมู่บ้านมิตรภาพไทย-
เวียดนาม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:103473
ฉวีวรรณ ประจบเหมาะ, สรินยา คำเมือง, สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์, บุญสม ชีรวณิชย์กุล, และอธิตา
สุนทโรทก (2555). ปริศนาวงศาคณาญาติ “ลัวะ”. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2549). Diaspora. จดหมายข่าวศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 8(44), 8-9.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2547). 30 ชาติในเชียงราย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศยาม.
พิชญาพร ประครองใจ. (2558). หลักนิเทศศาสตร์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารและพฤติกรรมการสื่อสาร.สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัจน์ชีวาต์ แซ่ตั๋น และจิตรี คงวุธ. (2553). รูปแบบการสื่อสารและการมีส่วนร่วมเพื่ออนุรักษ์การแสดงพื้นบ้านในจังหวัดจันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
รัตติกาล เจนจัด, ณัฐวิภา สินสุวรรณ, และ ตปากร พุธเกส. (2560). การสื่อสารเพื่อใช้ประโยชน์จากงานวิจัยในชุมชนและพื้นที่ : การสืบสานวัฒนธรรมชาวไทยพวน ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี จังหวัดนครนายก. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:52460
รัตนา โตสกุล. (2552). แนวคิดท้องถิ่นภาคอีสานนิยมในประเทศไทย. สำนักพิมพ์ MSSRC.
ลดาวัลย์ แก้วสีนวล. (2554). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม: ต่างสำเนียงแต่เสียงเดียวกัน.มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช.
วราภรณ์ ซื่อประดิษฐ์กุล. (2559). การสื่อสารอัตลักษณ์หมู่บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. https://dric.nrct.go.th/Search/GetFulltext/2/294649
ศุภวดี มนต์เนรมิตร. (2552). ชีวิตและการต่อสู้ของเขมรพลัดถิ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/272724
สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2553). การสื่อสารเพื่อสร้างธำรงรักษาและต่อรองอัตลักษณ์ความเป็นมอญของกลุ่มชาว
มอญพลัดถิ่นในประเทศไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32852
Littlejohn, S., & Foss. K. (2008). Theory of Human Communication (9th Ed). CA Thomson/Wadsworth.
Michael L. Hecht. (2012). The Communication Theory of Identity as a Framework for Health Message Design. In Hyunyi Cho, Health Communication Message Design: Theory and Practice (pp. 137-152). SAGE Publications, Inc.
Michael L. Hecht. (2022). Communication Theory of Identity. In Dawn O. Braithwaite and Paul Schrodt, Engaging Theories in Interpersonal Communication. Perlego Ebook. https://www.perlego.com.
Stephen W. Littlejohn, Karen A. Foss, and John G. Oetzel. (2017). Theory of Human Communication. (11th ED). Waveland Press, Inc.