พัฒนารูปแบบการสอนเพลงไทยโยธวาทิตโดยการถ่ายทอดของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นต้นแบบ

Main Article Content

ศุภศิระ ทวิชัย
รัชชานนท์ ยิ้มระยับ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการถ่ายทอดเพลงไทยโยธวาทิตของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ) 2) พัฒนารูปแบบการสอนเพลงไทยโยธวาทิตสำหรับนักศึกษาวงดุริยางค์เครื่องลม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ KDA model เป็นฐานโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1. การถ่ายทอดเพลงไทยโยธวาทิตของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมสอน เป็นการเลือกบทเพลงและเทคนิคการบรรเลงให้เหมาะสมกับผู้เรียน 2) ขั้นสอน เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการบรรเลง การสอนแยกในแต่ละกลุ่มเครื่องดนตรี และการสอนบรรเลงรวมวง 3) การสรุป และให้ผลสะท้อนกลับ เป็นการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และให้ผลสะท้อนกลับ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนา รวมถึงการเตรียมตัวในครั้งต่อไป 2.รูปแบบการสอนเพลงไทยโยธวาทิตสำหรับนักศึกษาวงดุริยางค์เครื่องลม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสอบถามและออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน 2) การกำหนดเนื้อหา และวางแผนการเรียนการสอน 3) การศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับบทเพลงไทยโยธวาทิต 4) การศึกษาบทเพลง และเตรียมความพร้อมก่อนการเรียน 5) การฝึกบรรเลงบทเพลงไทยโยธวาทิต 6) การประเมินผลระหว่างการฝึกซ้อม และให้คำแนะนำในการฝึกซ้อม 7) การฝึกซ้อมเพื่อเตรียมบรรเลงในโอกาสต่าง ๆ และ 8) การแสดงดนตรีในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งรูปแบบการสอนเพลงไทยโยธวาทิตโดยการถ่ายทอดของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ) เน้นการพัฒนาศักยภาพทางดนตรีของผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามระดับความสามารถและเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง เน้นความรู้ ควบคู่กับหลักการบรรเลงที่ถูกต้อง โดยมีคุณธรรมเป็นพื้นฐานสำคัญ ก่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ทวิชัย ศ., & ยิ้มระยับ ร. (2023). พัฒนารูปแบบการสอนเพลงไทยโยธวาทิตโดยการถ่ายทอดของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นต้นแบบ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(2), 1–13. https://doi.org/10.14456/issc.2023.20
บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2558). แนวทางการจัดประกวดวงโยธวาทิต. โรงพิมพ์เอส ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์

กวินนาฏ ผินกลาง, ทินกร อัตไพบูลย์ และพิทยวัฒน์ พันธะศรี. (2558). กระบวนการเรียนรู้เพลงไทยในรูปแบบการบรรเลงเดี่ยวปี่คลาริเน็ตของศิลปินแห่งชาติ: กรณีศึกษาพันโทวิชิต โห้ไทย. รมยสาร, 13(3), 79-88.

จิรกานต์ สิริกวินกอบกุล. (2563). สามัตถิยะสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้: ผู้เรียนดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสู่นักปฏิบัติการทางดนตรีศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2(1), 41-58.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกิต ละเพียรชัย. (2532). การบรรเลงเพลงไทยด้วยวงโยธวาทิต. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พฤทธิ์ พันธุมิตร. (2553). การแปรทำนองวงโยธวาทิต เพลงโศก และเพลงแขกสาย เถา ของบ้านพาทยโกศล. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิม แสนบุญศิริ และคณะ. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติจากการจัดการเรียนการสอนด้วย KDA โมเดลของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พีรัญยา วิสิฐจันทรกูล. (2558). แนวทางการฝึกซ้อมวงมโหรีเครื่องเดี่ยวระดับมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิศวะ ประสานวงศ์. (2555). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูอุทัย แก้วละเอียด (ศิลปินแห่งชาติ). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ศุภศิระ ทวิชัย. (2556). กระบวนการเรียบเรียงเพลงไทยสาหรับวงโยธวาทิตของพันโทวิชิต โห้ไทย (ศิลปินแห่งชาติ). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรพล เอี่ยมอู่ทรัพย์. (2552). สอนอย่างไรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ดอกหญ้าการพิมพ์.

อุทัย ศาสตรา. (2560). กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: การถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย). [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทิศ นาคสวัสดิ์. (2546). ทฤษฎีและหลักปฏิบัติดนตรีไทยและพจนานุกรมดนตรีไทย.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. Harcourt, Braceand World.