แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโดยการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม เพื่อสอดรับกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตำบลวันยาว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สมพงษ์ เส้งมณีย์
เหมือนฝัน คงสมแสวง
สุทธินันท์ โสตวิถี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโดยการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อสอดรับกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตำบลวันยาว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มโดยการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนตำบลวันยาว จำนวน 10 ท่านผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนควรมีการประชุม บอกกล่าวสมาชิกเพื่อสร้างความเข้าใจและความจำเป็นในการทำการท่องเที่ยวชุมชน2) สำรวจสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถพัฒนาสร้างกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้เพิ่มประสบการณ์ในการท่องเที่ยว3) การจัดกิจกรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนวันยาว หรือ เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในท้องถิ่น โดยที่สร้างความแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่น4) ควรจัดให้มีการประมวลผล ประโยชน์ในเชิงสุขภาพหลังจากที่มีการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอีกทางนึงด้วย5) ชุมชนควรมีการติดตาม ประเมินผลนักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ดีในชุมชนต่อไป นอกจากนี้จากการวิจัยได้สถานที่ท่องเที่ยว 4 จุดด้วยกัน ได้แก่ จุดที่ 1 เริ่มต้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลวันยาว จุดที่ 2 สะพานไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 จุดที่ 3 ฟาร์มหอยนางรม ฟาร์มหอยแครง ชมเหยี่ยวแดง จุดที่ 4 ป่าโกงกาง ธนาคารปูม้า หมู่ที่ 8

Article Details

How to Cite
เส้งมณีย์ ส., คงสมแสวง เ., & โสตวิถี ส. (2023). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโดยการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม เพื่อสอดรับกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตำบลวันยาว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 174–183. https://doi.org/10.14456/issc.2023.16
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศไทย. รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว,1(2), 9.

จิรัชญา งามเลิศดนัย, คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา และ อังสุมาลิน จํานงชอบ. (2564). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเรือสำราญในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,41(4), 104-121.

ดรรชนี เอมพัธุ์. (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการจัดการโฮมสเตย์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เทศบาลตำบลวันยาว. (2564, 2 มีนาคม). ประวัติความเป็นมา. http://www.wanyouw.go.th/

ธันยา พรหมบุรมย์ และ นฤมล กิมภากรณ์, (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมและสุขภาพในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 71-87.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วีระพล ทองมา. (2547, 2 มีนาคม). การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism: CBT) สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้. http://www.dnp.go.th/fca16/file/i49xy4ghqzsh3j1.doc.

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของกลุ่มจังหวัดล้านนา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร. วิทยาเขตแพร่, 7(1), 75-89.

สาทินี วัฒนกิจ และณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม. (2565). การศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นที่ลุมน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง. วารสารปาริชาต, 35(1), 187-202

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561, 2 มีนาคม). แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. แหล่งที่มา https://www.eeco.or.th/web-upload/filecenter

อัจฉรา สุจา. (2562). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนจากต้นทุนทางวัฒนธรรมของตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://library.cmu.ac.th/

Dodds, R., Ali, A., & Galaski, K. (2018). Mobilizing knowledge: determining key elements for success and pitfalls in developing community-based tourism. Current Issues in Tourism, 21(13), 1547-1568.

Singgalen. Y. A., Sasongko. G., and Wiloso. P., G. (2019). Community

participation in regional tourism development: a case study in North Halmahera Regency – Indonesia. Insights into Regional Development, 1(4), 318-333.

Tolkach, D., King, B., & Pearlman, M. (2015). An attribute-based approach to classifying

community based tourism networks. Tourism Planning & Development, 10(3), 319–337.

Wondirad, A., & Ewnetu, B. (2019). Community participation in tourism development

as a tool to foster sustainable land and resource use practices in a national park milieu. Land Use policy, 88(1), 1-13.