รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

จริยา เจนทนา
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
ชัยพจน์ รักงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสา            2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสา และ 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสา ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ข้อที่ 1 คือ นักเรียน ผู้บริหารและครู โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดจันทบุรี จำนวน 301 คน  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ข้อที่ 2 คือ ผู้บริหารและครู โรงเรียนต้นแบบ จำนวน 9 คน  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ข้อที่ 3 คือ นักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 จำนวน  30 คน                เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์                     แบบประเมิน ชุดกิจกรรมและแบบวัดผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent-t)


            ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพปัญหาการส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสา โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติบางครั้ง


2) รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสาของนักเรียน  ประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสา 6 โมดูล ได้แก่ แรงจูงใจอาสา การช่วยเหลือผู้อื่น การเสียสละต่อสังคม ความมุ่งมั่นพัฒนา การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การรับผิดชอบต่อส่วนรวม และ                            


3) รูปแบบ พบว่า พฤติกรรมจิตอาสาของนักเรียนหลังการการใช้รูปแบบมีพฤติกรรมจิตอาสาสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบ

Article Details

How to Cite
เจนทนา จ., ธีระวณิชตระกูล ส., & รักงาม ช. (2023). รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(3), 172–182. https://doi.org/10.14456/issc.2023.52
บท
บทความวิจัย

References

นันทรัตน์ ปริวัติธรรม. (2554). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของเด็กและเยาวชนที่รับทุนการศึกษา

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร. (2547). รูปแบบการพัฒนานักเรียนระดับประถมศึกษาให้มีจิตสาธารณะ: การศึกษาระยะยาว.

ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการเนื่องในวันสถาปนาสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ครบรอบ 49 ปี.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิวรรธน์ วรรณศิริ. (2560). (28 พฤศจิกายน 2563). ต้นแบบแหล่งเรียนรู้เชิงคุณธรรม โรงเรียนบ้านหนองตาบ่ง หมู่ที่ 4

ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี.

http://moralcenter.or.th/images/files/พัฒนาแหล่งการเรียนรู้-7.pdf.

วลัยรักษ์ บุญภา. (2553). กระบวนการสร้างจิตอาสาของคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาล ตำบลโพธิ์ไทร

อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. [การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมศรี ฐานะวุฒิกุล. (2555). กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ

ประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง. (2558). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวโน้มพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาเชิงบูรณา

การระหว่างท้องถิ่น ศาสนา และมหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการของโครงงานคุณธรรม. วารสารศิลปะ

ศาสตร์และวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(1), 143 - 178.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง

(พ.ศ. 2560 – 2564). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้.วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

อรนุช แสนสุข. (2557). การศึกษาจิตอาสาทางสังคมของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์.

การประชุมสัมมนาเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 8. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(1), 607-610.