การวิเคราะห์อิทธิพลของระดับคะแนนความถนัดทางภาษาจีน (Pat 7.4) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์
สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์อิทธิพลของระดับคะแนนความถนัดทางภาษาจีน (Pat 7.4) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับคะแนนความถนัดทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับคะแนนความถนัดทางภาษาจีน และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี


          การศึกษาวิจัยครั้งนี้กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 162 คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 – 4 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 92 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ระดับคะแนนความถนัดทางภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีคะแนนเฉลี่ย (  ) 101.43 จากคะแนนเต็ม 300 มีค่า S.D  เท่ากับ 33.462 อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของการสอบวัดความถนัดทางภาษาจีนของประเทศ 2) ความสัมพันธ์ของระดับคะแนนความถนัดทางภาษาจีน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r= .41) โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างคือ 2.96 และผลการสอบความถนัดทางภาษาจีนมีค่าเฉลี่ยที่ 101.43 คะแนน  3) กำลังสองของค่าสหพันธ์ (R2) มีค่าเท่ากับ .17 แสดงว่าสัมประสิทธิ์การทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีได้ร้อยละ 17  (R2 = .17) สามารถเขียนสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับอุดมศึกษาจากอิทธิพลของความถนัดทางภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในรูปคะแนนดิบคือ = 31.03+23.76X ปรับสมการให้อยู่ในรูปคะแนนมาตรฐานได้เป็น Zy = .41Zx  ผลวิจัยเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยว่า ถ้านักศึกษามีผลการสอบความถนัดทางภาษาจีนสูง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนในระดับอุดมศึกษาจะสูงตามด้วย

Article Details

How to Cite
กิตตินันทวัฒน์ ป., & ศรีพนมธนากร ส. (2022). การวิเคราะห์อิทธิพลของระดับคะแนนความถนัดทางภาษาจีน (Pat 7.4) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 148–161. https://doi.org/10.14456/issc.2022.14
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปีพุทธศักราช 2551, กรุงเทพมหานคร.

ขนิษฐา พิมานมาศสุริยา. (2017). ศึกษาความสอดคล้องระหว่างแบบเรียนของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและข้อสอบวัดความถนัดทางภาษาจีน (PAT 7.4) ในด้านไวยากรณ์. วารสารปัญญาภวิวัฒน์, 9(1), 188 -189.

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, 1-2.

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2562).โครงการเมล็ดพันธุ์สู่ศาสตร์แห่งแผ่นดิน, 8-9.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). องค์ประกอบ ค่าน้ำหนักร้อยละ และเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษา. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2562). โครงการเมล็ดพันธุ์สู่ศาสตร์แห่งแผ่นดิน. กรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พจนมาน เตียวัฒนรัฐติกาล. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและระบบการคัดเลือกนักสึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(3), 112-132.

ฤทัยรัตน์ เวียงจันดา. (2018). ภาษาที่สามกับการศึกษาไทย 4.0. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”.

ปฏิภาณ กิตตินันทวัฒน์. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร1 และแนวทางการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 25.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยสังเคราะห์ภาพรวม. กรุงเทพมหานค. พริกหวานกราฟิค.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2559). รายงานการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2559,รอบ 1 ปี (ตุลาคม 2558 – กันยายน 2559), 38.

__________________________ . (2559).รายงานการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ, 2559รอบ 1 ปี (ตุลาคม 2558 – กันยายน 2559), I-IV.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2560). รายงานการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2560, รอบ 1 ปี (ตุลาคม 2559 – กันยายน 2560), 52-53.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานการประเมินผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2562, รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2561 – มีนาคม 2562), 47.

สุทธิวรรณ พีรศักดิ์โสภณ และ เกีรยรติยศ กุลเดชชัยชาญ. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่เข้าศึกษาต่อด้วยวิธีรับตรงและวิธีระบบรับกลางปีการศึกษา 2558. วารสารศรีนครินวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์), 9(18), 220-229.

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2561). รายงานผลการ ประกันคุณภาพการศึกษา (SAR) 2561: ระบบและกลไกการรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

David Katz and Robert L.Kahn. (1966). The Social Psychology of Organizations. New York : wiley,

Pearson, David P. and Johnson, Dale D. (1978). Teaching Reading Comprehension. New York:

Holt, Rinehart &Winston.

Wang jin Bo. (2555). แนวข้อสอบ (PAT 7.4) ความถนัดทางภาษาต่างประเทศที่ 2 ภาษาจีน. กรุงเทพมหานคร: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

Xiaohui Guo. (2561). การจัดการความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน.วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 287-288.

พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2563).ความหมายของคำว่า “อิทธฺพล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/%E0%B8%

AD%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A5 (วันที่สืบค้น : 29 สิงหาคม 2563).