การศึกษาและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารแบบคุกกิ้งเวเคชั่นในประเทศไทย

Main Article Content

กฤชญา จตุรภัทร์
ปรวัน แพทยานนท์
ปิลันลน์ ปุณญประภา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อการศึกษา และ พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหาร แบบ คุกกิ้งเวเคชั่น ใน ประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อนําผลสรุปของการวิจัย ไปปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับแผนการตลาดธุรกิจบริการอาหารแบบ คุกกิ้งเวเคชั่น โดยใช้ แบบสอบถามออนไลน์ และ การสัมภาษณ์เชิงลึกออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ ใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนที่หนึ่งผู้วิจัยศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผนพัฒนาธุรกิจบริการ จากกรณีศึกษา คุกกิ้งเวเคชั่น ใน ประเทศญี่ปุ่น สเปน และ ไทย ทราบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่สนใจ ความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นถิ่น โดยมีพนักงานคอยดูแลและสื่อสารให้เข้าใจง่ายขั้นตอนที่สองผู้วิจัยได้สอบถามบุคคลทั่วไปนักท่องเที่ยวชาวไทย และ ต่างประเทศ อายุ 22 - 45 ปี ผลพบว่า มีผู้ทําแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงประกอบอาชีพ ลูกจ้างเอกชนพนักงานบริษัท มีรายได้ 15,001 – 25,000 บาท โดยมีกระบวนการสําคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) วิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมาย 2) ระยะเวลาในการร่วมกิจกรรม 3) การเพิ่มคุณค่าทางสังคม 4) ความเหมาะสมทางการสื่อสาร 5) ความเหมาะสมในการจัดการพื้นที่ร้านขั้นตอนที่สามผู้วิจัยได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญจึงพบว่ามีปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเลือกร้านอาหารเพื่อการรีวิว และ ด้านความคาดหวังต่อการบริการ ความพร้อมสถานที่ และ การจัดสรรเวลาในการร่วมกิจกรรม ขั้นตอนที่สี่ผู้วิจัยได้วางแผนพัฒนาธุรกิจโดยแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนที่ (1) การออกแบบโมเดลธุรกิจ ส่วนที่ (2) การ ออกแบบแบรนด์ไกด์ไลน์ ขั้นตอนที่ห้าผู้วิจัยได้นําผลการศึกษาและการออกแบบในขั้นตอนที่สี่มาขอคําแนะนําจากเชี่ยวชาญประเมินคุณภาพจํานวน 3 ท่าน พบว่าผู้เชี่ยวชาญทั้งสามท่านมีความเห็นตรงกันกับแผน Business Model และ Business Guidelines

Article Details

How to Cite
จตุรภัทร์ ก., แพทยานนท์ ป., & ปุณญประภา ป. (2023). การศึกษาและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหารแบบคุกกิ้งเวเคชั่นในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 21–32. https://doi.org/10.14456/issc.2023.3
บท
บทความวิจัย

References

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561, มกราคม-มิถุนายน). การท่องเที่ยวเชิงอาหารศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย.

วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1), 114. สืบค้นจาก apheit.bu.ac.th/jounal/social-vol24-1/08_วิชาการ_เบญจมาภรณ์%20ชำนาญฉา.pdf

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). “ชิมช้อปใช้” เงินกำลังหมุนไป 8 วันใช้จ่ายสะพัดพันล้าน กรุงเทพฯช้อปสูงสุด. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/business/1675605

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2560 (Tourism Statistics 2017). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/old/more_news.php?cid=414&filename=index

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2017a). Food on the move. TAT Review, 3(1), 10-16.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2017b). Food on the move. TAT Review, 3(1), 28.

บริษัท แบรนด์บุฟเฟต์ จำกัด. (2562). ส่องเทรนด์ธุรกิจร้านอาหารชั่วโมงนี้ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่? ร้านแบบไหนมาแรง.

สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2019/07/restaurant-business-overview-by-eic/

พรรณี สวนเพลง และ คณะ. (2559). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว,

(2), 38-45.

Andrys. (2019). 36 Great Brand Guidelines Examples. http://old.seattletimes.com/html/businesstechnology/2018979469_microsoftreaxxml.html

Athena H.N. Mak, Margaret Lumbers, Anita Eves, & Richard C.Y. Chang. (2012). Factors influencing tourfood consumption. International Journal of Hospitality Management, 31(3), 928-936.

Brown Tim. (2008). Design Thinking. Harvard business review. 86(141), 84-92. Cisco. (2019). Brand Centre.

(2019). Brand Centre. 2019. https://www.cisco.com/c/m/en_us/about/brand-center/copyright-

use/copyright-material-guidelines/interactive-brand-book.html#16

Erik Cohen. (1979). A Phenomenology of Tourist Experience. Sociology, 13(2), 179-201.

Herz, R.S., & Engen, T. (1996). Odor memory: Review and analysis. Psychonomic Bulletin and Review, 3(3), 300-313.

Kotler, P., & Armstrong, G. (1996). Principles of marketing (7th ed.). Prentice Hall International, London: Pearson Education.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2006). Marketing Management (12th ed.). Upper Saddle

River: Prentice Hall.

Lorri Mealey. (2019). The Basics of Choosing a Restaurant Theme Concept. https://www.thebalancesmb .com /the-basics-of-choosing-a-restaurant-theme-2888693

UNWTO. (2012). Global Report on Food Tourism. https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284414819