พฤติกรรมการเปิดรับข่าวออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Main Article Content

สุกัญญา บูรณเดชาชัย
ศักดินา บุญเปี่ยม
ทักษิณา ชัยอิทธิพรวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาลักษณะประชากรของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 3) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จำนวน 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้สถิติวิเคราะห์โดยใช้จำนวน ร้อยละ และใช้สถิติ Chi-square ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 45 ปีขึ้นไป เรียนหลักสูตรกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถานะกำลังศึกษารายวิชา และเป็นข้าราชการ 2) พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เป็นประจำในการศึกษาค้นคว้าโดยใช้ อีเมล์มากที่สุด และลักษณะทางประชากรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ.05 3) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวออนไลน์จากอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีการเปิดรับข่าวจากอินเทอร์เน็ตเป็นประจำทุกวันมีระยะเวลามากว่า 2 ชั่วโมง เพื่อค้นหาข่าวทางอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา โดยหาจากเว็บไซด์หนังสือพิมพ์ออนไลน์มากที่สุด และมีลักษณะทางประชากรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวออนไลน์จากอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

How to Cite
บูรณเดชาชัย ส., บุญเปี่ยม ศ., & ชัยอิทธิพรวงศ์ ท. (2022). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 110–118. https://doi.org/10.14456/issc.2022.30
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน : การศึกษาสื่อมวลชนเพื่อทฤษฎีวิพากษ์. กรุงเสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลธิดา สายพรหม. (2563). คุณค่าข่าวที่มีผลต่อการคัดเลือกประเด็นข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 29-54.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551, 22 พฤษภาคม). อำนาจสื่อมวลชน ปี 2020 ผลจากเทคโนโลยีการสื่อสาร. http://www.thai.com/educate.php

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2551, 10 กรกฎาคม). อินเทอร์เน็ตในทศวรรษหน้า. http://www1.stkc.go.th/redirect.php

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. ที.พ.พริ้นท์.

รัชนีพร ศรีรักษา. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในทางสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 13(26), 39-50.

สมควร กวียะ. (2549). วารสารศาสตร์พันธุ์ใหม่. บ้านหนังสือโกสินทร์.

สมโภชน์ อเนกสุข. (2550). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิริพงษ์ สุวรรณประภักดิ์ และปัทมา สุวรรณภักดี. (2562). พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และแรงจูงใจของประชาชน ที่มีต่อการเปิดรับข่าวสาร ผ่านสื่อออนไลน์ : กรณีศึกษาเว็บไซต์ 77 ข่าวเด็ด. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ., 9(2), 1-10.

สุภางค์ จันทวานิช. (2562). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสกสรร สายสีสด. (2542). อินเทอร์เน็ต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. นาคร.

โอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2552). เอกสารประกอบการสัมมนาภาคตะวันออกในยุคโลกาภิวัฒน์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Charles, W. R. (1976). Mass Communication. Random House

Klapper, J. T. (1960). The Effects of Mass Communication. Free Press.

McCombs, M. E. & Becker, L. B. (1979). Using mass communication theory. Prentice-Hall.

McQuail, Denis. (1994). Mass Communication Theory (4th ed). Sage.

Yamane, T. (1970). Statistic: An Introductory Analysis (2nd ed.). Tokyo: John Weather Hills.