ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้ซื้อรายย่อยในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตสินค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สินค้าแฟชั่น สิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เสริมสำหรับมือถือ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้มีผู้ซื้อรายย่อยจำนวนมากสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีน การวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาความพึงพอใจในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้ซื้อรายย่อย ในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ที่สั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีน และระดับความพึงพอใจในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีน ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้ซื้อรายย่อย ในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านช่องทางออนไลน์ ในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา จำนวน 400 คน เลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานงานวิจัย ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
ความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาดเกี่ยวกับพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้ซื้อรายย่อย ในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา ความพึงพอใจส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.04, S.D.=0.82) การทดสอบสมมติฐานงานวิจัยพบว่า สินค้าที่สั่งซื้อจากประเทศจีนผ่านช่องทางออนไลน์เป็นภาพลักษณ์สวยงาม ดูดี ทันสมัยและแปลกใหม่ มีคุณภาพ มีบริการส่งฟรี และมีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดส่งผลต่อความพึงพอใจในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศจีนผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้ซื้อรายย่อย ในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กนกวรรณ อินรอด และกัญญ์กุลณัช พีรชาอัครชัย.(2564). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจการใช้บริการสั่งสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 18(1), 53-62.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561, 3 มีนาคม). คู่มือเปิดร้านค้าออนไลน์.https://www.dbd.go.th/download/ecommerce_file/pdf/dbd_ecommmanual_openshopoonline_6202.pdf.
กาญจนาวดี สำลีเทศ และณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ
ซื้อเครื่องสำอางในระบบออนไลน์ของ Gen Z ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 329-343.
จังหวัดนครราชสีมา. (2561,3 มีนาคม). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2561-2565 ฉบับทบทวนปีงบประมาณ
พ.ศ.2564. https://www2.nakhonratchasima.go.th/files/com_ebook_strategy/202006_aa31e9524baf536.pdf.
ชนาภา เหยือกเงิน และสังศิต พิริยะรังสรรค์. (2561). รูปแบบการนำเข้าสินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีจากประเทศ
จีนโดยระบบอีคอมเมิร์ซ ผ่านเว็บไซต์สำเร็จรูปตัวกลางที่ให้บริการเป็นภาษาไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(1), 42-58.
ชนิตา เสถียรโชค. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์บน Lazada. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฑิตาพร รุ่งสถาพร. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในเขต
กรุงเทพมหานครปริมณฑลและพิษณุโลก. วารสารนิเทศศาสตร์, 39(2), 119-129.
ธีร์ธวัช เตชวิทิตกุล และ รศ.จรีพร ศรีทอง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจและตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์
ประเภทไอที (ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์). [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยะวรรณ แซ่อึ้ง. (2562). ความพึงพอใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยวัช วสุสิริกุล และ Rainer Hans Stasiewski. (2559). การเติบโตของตลาดออนไลน์จีน. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, 10(2),9-20.
รวิสรา ศรีบรรจง และนนัทวัน เหลี่ยมปรีชา. (2564). พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคภายใต้วิถีความปกติ
ใหม่ (New Normal) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกที่มีผลต่อส่วนประสมการตลาดออนไลน์. โครงการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2564. วันที่ 1 เมษายน 2564, 40-52.
วรณัน ธญาณวัฒน์ และ ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมใน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(3), 15-23.
วิวิศนา โชติศักดิ์. (2562). ความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Lazada ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์วิจัยกสิกร. (2560). โดนใจคนจีน เพิ่มโอกาส E-commerce ไทย. https://www.kasikornbank.
com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Thai-E- Commerce _Chinese.pdf
สคร.เซี่ยงไฮ้. (2559). เจาะลึกตลาด E-Commerce จีน. https://ditp.go.th/contents_attach/150637/150637.pdf.
เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(2),88-102.
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ. (2559). ธุรกิจการค้าออนไลน์. https://www.thansettakij.com
อรจิรา แก้วสว่าง, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และวราพร ดำรงกูลสมบัติ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการ
เลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(2), 308-321.
อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่าน
สังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
อิทธิพงศ์ ชละธาร และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อ
การตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าตรายูนิโคล่ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 16-29.
Amstrong, G., and Kotler, P. (2012). Principles of Marketing (14th ed). Pearson Prentice-Hall.
Anbori, A, Ghani, S.H.Y., Daher, A., & Su, T. (2010). Patient satisfaction and loyalty to the private hospitals in Sana’a, Yemen International. Journal for Quality in Health Care, 22(4), 310-315.
Fillgoods. (2564). ชี้เป้า 5 เว็บไซต์รับของมาขายออนไลน์จากจีน ราคาสบายกระเป๋า. https://fillgoods.co/online-biz/no-shop-5-websites-selling-chinese-product/
Leavitt, H. J. (1972). Managerial psychology. Chicago: University of Chicago.
Shelli, D.F. (1995). Tackling family member compensation. American Printer