ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอตัวแบบการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออก ของจังหวัดจันทบุรี โดยจัดเป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเภท “ชานเมือง” ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การวิจัยนี้มุ่งเสนอแนวคิดและยุทธศาสตร์เพื่อสร้างตัวแบบของการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน ใช้วิธีการวิทยาวิจัยแบบสหวิทยาการ โดยเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นสำคัญ ผู้ศึกษาจะใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร บทความและงานนิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง โดยจะศึกษาบนพื้นฐานของตัวชี้วัด 6 ด้านสำคัญคือ ด้านโครงสร้างพื้นที่ ด้านการจัดการพลังงาน ด้านการจัดการน้ำ ด้านการจัดการของเสีย ด้านการจัดการคมนาคมขนส่งและด้านการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามคู่มือของ UI Green Metric World University Rankings ประเทศอินโดนีเซีย ว่าเหมาะสมและตรงตามบริบทอันจะนำไปสู่การปรับตัวของมหาวิทยาลัยราชภัฏให้เกิดความยั่งยืนหรือไม่ผลการวิจัยพบว่าตัวแบบที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืนนั้น หลักคิดที่สำคัญคือต้องมีการจัดการระบบการศึกษาที่ยั่งยืนภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า 4C Model ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านวัฒนธรรมสีเขียว(Culture) , การจัดการพื้นที่เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน(Campus),การจัดการศึกษาที่ยั่งยืนภายในสถานศึกษา(Curriculum)และการสร้างภาคีเครือข่ายชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน(Community)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กาญจนา เงารังสี. (2559). การศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารสมาคมนักวิจัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(2), 13-18.
จักรพันธ์ โพธิพัฒน์ และ สุทธินันท์ โสตวิถี. (2562). วิวาทะการตื่นตูมทางด้านสิ่งแวดล้อม. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร ,2(2), 77-89.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ฐิติรัตน์ อิทธิมีชัย. (2562). แนวทางการใช้กฎหมายเพื่อปกป้องภาวะโลกร้อนภายในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 2(2), 106- 115.
ปิยศักดิ์ ถีอาสนา. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2564, 23 พฤษภาคม). รายงานการส่งประเมินมหาวิทยาลัยสีเขียว.http://www.green.rbru.ac.th/index.php?p=ranking&p2=rankingGreenUni.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561, 23 เมษายน). ประกาศยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580.
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDFประกาศเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580.
ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2564, 9 ตุลาคม). หลักสูตรการศึกษาถึงเวลาต้องเปลี่ยน – เมื่อการต่อสู้กับ Climate Change เริ่มต้นที่ห้องเรียน. https://www.sdgmove.com/2021/07/06/climate-change-and-education/ SDG Updates
สัมมา รธนิธย์. (2564). พระมหากรุณาธิคุณเพริสแพร้ว ณ สวนบ้านแก้ว จันทบุรี. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สำนักบริการวิชาการ. (2564, 22 มกราคม). ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพวิทยาศาสตร์การกีฬา (งานสนามกอล์ฟ http://www.uniserv.rbru.ac.th/indexuniserv.php?pg=golf.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก. (2564, 10 มกราคม). โลกกำลังเผชิญก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปกคลุมสูงสุด
http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/post/94-962.
Leopold, A. (1949). Sand County Almanac : With Essays on Conservation. Ballantine Books.
Rhoen, D., Mansilla, V., Chun, M. and Klein, J.T. (2006) . Interdisciplinary Education at Liberal Arts Institutions, Teagle Foundation White Paper, New York NY.
Valentin, GRECU1 and Nagore. (2014). Management of Sustainable Development Sibiu, Romania,
(2),18-25. https://www.researchgate.net/publication/276424502.
Velazquez, L, Munguia, N., Platt, A., Taddei, J. (2006) Sustainable university: what can be the matter?, Journal of Cleaner Production Volume 14, Issues 9-11, 2006, Pages 810-819 Sustainability In Higher Education: What is Happening?.
Williams, P.M. (2008) University Leadership for Sustainability – A Dendritic Framework for Enablic Connection and Collaboration, PhD Thesis at Victoria University of Wellington, retrieved 20.07.2010 from http://www.futuresteps.co.nz/PhD_University_Leadership _for _ Sustain ability.pdf