คิดดีไอดอล การผลิตสื่อสร้างสรรค์และกระบวนการสร้างนักสื่อสารสุขภาวะภาคใต้

Main Article Content

ทีปวิท พงศ์ไพบูลย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อเสนอถึงการบูรณาการความรู้ข้ามศาสสตร์ระหว่างหลักการด้านนิเทศศาสตร์กับหลักการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเข้าด้วยกัน ซึ่งก่อให้เกิด “ การสื่อสารเพื่อสุขภาพ ” ตามมา โดยการนำเสนอเนื้อหาด้วยการวิเคราะห์ผ่านโครงการ “ คิดดไอดอล สื่อดีมีไอเดีย ” ซึ่งป็นโครงการผลิตสื่อสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์โดยกลุ่มผู้ผลิตสื่อซึ่งเป็นเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจากสถาบันการศึกษาทั่วภาคใต้ และได้ผลิตสื่อในรูปแบบต่างๆขึ้นตามประเด็นปัญหาและสถานการณ์ด้านสุขภาวะที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่ภาคใต้ และนำสื่อที่ผลิตขึ้นมานั้นออกเผยแพร่สู่พื้นที่ปฏิบัติการชุมชน โดยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นสุขภาวะแก่กลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย โครงการนี้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2564 ( และยังคงดำเนินการอยู่จวบจนปัจจุบัน ) ภายใต้การบริหารจัดการโครงการโดยองค์กรสาธารณะในท้องถิ่นและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.)

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมอนามัย.(2560).เอกสารรายงานประจำปี.กรุงเทพฯ.

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2547). การสื่อสารเพื่อสุขภาพ : วิวัฒนาการและการก้าวสู่ความท้าทายในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โครงการการ

พัฒนาองค์ความรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาพ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทีปวิท พงศ์ไพบูลย์ ( 2562 ).การผลิตสื่อสุขภาวะเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้สู่ชุมชน โครงการคิดดีไอดอล สื่อดีมีไอเดีย.สงขลา.

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). คิดดีไอดอล “เปลี่ยน” สังคมด้วยพลังสื่อคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ.

เอกสารประกอบโครงการคิดดีไอดอล สื่อดีมีไอเดีย ( 2564 ).กระบี่

Gerald Millerson, Jim Owens. (2009). Television Production. New York.

Ratzan, S. C., Payne, J. G., & Bishop, C. (1996). The Status and Scope of Health Communication. Journal of Health

Communication.