การจัดการเครือข่ายสมาชิกกสิกรรมธรรมชาติในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาการจัดการเครือข่ายสมาชิกกสิกรรมธรรมชาติในประเทศไทย 2.ศึกษากระบวนการความร่วมมือของเครือข่ายสมาชิกกสิกรรมธรรมชาติในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกรณีศึกษาแบบพหุกรณี (Multiple Case Study) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก(in-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants) ที่ได้มาจากการใช้รูปแบบการแนะนำต่อๆกัน(snowball sampling) โดยเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเครือข่ายสมาชิกกสิกรรมธรรมชาติจากภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม จำนวน 25 คน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีที่หลากหลาย และวิเคราะห์ข้อสรุปแบบอุปนัย รวมถึงมีการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านข้อมูเครื่องมือที่ใช้การวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า
เครือข่ายสมาชิกกสิกรรมธรรมชาติ มีกระบวนการจัดการเครือข่ายสมาชิก ดังนี้ (1) การกำหนดเป้าหมาย (2) การสร้างเครือข่ายสมาชิกและหุ้นส่วนความร่วมมือ (3) โครงสร้าง ผู้นำ (4) การประสานงาน (5) การสร้างความร่วมมือและกิจกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ในส่วนกระบวนการความร่วมมือของเครือข่ายสมาชิกกสิกรรมธรรมชาติ ผลการวิจัย พบว่า ประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้ (1) กำหนดป้าหมายและข้อตกลงร่วม (2) การพึ่งพาอาศัยกันและการสร้างพันธมิตร (3) การดำเนินงานร่วมกัน (4) การประเมินผล และผลที่เกิดจากความร่วมมือ มีดังนี้ กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายในเครือข่ายสมาชิก นวัตกรรมและองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้น โครงการหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ การสร้างและขยายเครือข่ายสมาชิก
ในส่วนกระบวนการความร่วมมือของเครือข่ายสมาชิกกสิกรรมธรรมชาติ ผลการวิจัยพบว่า ประกอบด้วย (1) มีการสร้างข้อตกลงยอมรับร่วมกันในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ (2) มีการดำเนินงานร่วมกันในรูปแบบพหุภาคี 7 ภาคี ประกอบด้วยภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคศาสนา ภาคสื่อมวลชน และภาครัฐ (3) มีลักษณะของการพึ่งพาแบบแลกเปลี่ยนระหว่างกัน มีการประสานงานโดยแผนหรือข้อตกลงร่วมกันอย่างมีระบบ โดยมีการยึดหลักบวรและการพัฒนาโดยชุมชนมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ และ (4) มีการประเมินผล 2 รูปแบบ คือ การประเมินผลแบบไม่เป็นทางการร่วมกับการประเมินผลแบบเป็นทางการ ผลที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายสมาชิกกสิกรรมธรรมชาติ พบว่า มีดังนี้ คือ เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายสมาชิกกับหุ้นส่วนความร่วมมือ มีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมท้องถิ่น รวมถึงมีการร่วมมือจัดทำโครงการหรือกิจกรรมใหม่ เพื่อแก้ไขพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2556). องค์การสมัยใหม่ = Modern organization. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Agranoff, R. (2006). Inside Collaborative Networks: Ten Lessons for Public Managers. Public Administration Review, 66(1),56-65.
Agranoff & McGuire. (2003). Collaborative Public Management: New Strategies for Local Governments. Georgetown University PressGoldsmith, S., & Eggers, W. (2004). Governing by network. Brookings Institution Press.
Lucke, R., & Bartlett, C. (2018). Manager’s Toolkit. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Provan & Lemaire.(2012). Core Concepts and Key Ideas for Understanding Public Sector Organizational Networks: Using Research to Inform Scholarship and Practice. Public Administration Review 72(5), pp. 638-648
Provan & Kenis .(2007). Modes of Network Governance: Structure, Management, and Effectiveness .Journal of Public Administration Research and Theory,18(2), 12-22.
Provan, K. G. & Milward, H. B., (1995). A preliminary theory of interorganizational network effectiveness: A comparative study of four community mental health systems. Administrative Science Quarterly, 40(1), 1-33.
Provan, K. G. & Milward, H. B., (2001). Do networks really work?: A framework for evaluating public-sector organizational networks. Public Administration Review, 61(1), 414-423.
Ring, P. S., & Van de Ven, A. H. (2006). Relying on trust in cooperative inter-organizational relationships. In R. Bachmann & A. Zaheer (Eds.), Handbook of trust research. Basil Blackwell.