การพัฒนาแนวทางสื่อสารแบรนด์เชิงวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

เสาวนีย์ วรรณประภา
สราวุธ อนันตชาติ
กัญญารัตน์ หงส์วรนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารแบรนด์เชิงวัฒนธรรม รวมทั้งการพัฒนาแนวทางการสื่อสารแบรนด์เชิงวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดจันทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารแบรนด์เชิงวัฒนธรรม 55 คน และใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของการสื่อสารแบรนด์เชิงมรดกวัฒนธรรม จังหวัดจันทบุรี เป็นได้ทั้งวัฒนธรรมรูปแบบดั้งเดิม และวัฒนธรรมที่มีการดัดแปลง แก้ไข ประยุกต์ ต่อยอดได้ โดยมีรูปแบบและพัฒนาการของการสื่อสารแบรนด์ ใน 4 มิติ คือ พัฒนาการในมิติผู้ส่งสาร มิติเนื้อหาสาร มิติช่องทางสาร และมิติผู้รับสาร และ 2) แนวทางในการสื่อสารแบรนด์เชิงวัฒนธรรม มีจุดเริ่มต้นที่ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ซึ่งรับนโยบายมาจากหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง และรับข้อมูลส่วนหนึ่งจากกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าในท้องถิ่น ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวระดับประเทศ และแผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวระดับจังหวัด ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานภาคเอกชน ทั้งในด้านงบประมาณและในด้านกำลังคน จากนั้น วิเคราะห์สถานการณ์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดแผนและงบประมาณ วางแผนกลยุทธ์ในการสื่อสารแบรนด์เชิงวัฒนธรรม ผ่านแนวคิด SMCR ต่อด้วย การกำหนดกลุ่มสปอนเซอร์ นำแผนไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลในที่สุด

Article Details

How to Cite
วรรณประภา เ., อนันตชาติ ส., & หงส์วรนันท์ ก. (2022). การพัฒนาแนวทางสื่อสารแบรนด์เชิงวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 153–164. https://doi.org/10.14456/issc.2022.34
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กระทรวงมหาดไทย.

มนตรี พงษ์เจริญ. (2556). บันทึกหอจดหมายเหตุจันทบุรี. โปร ออฟเซต.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

สำนักงานปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ปี พ.ศ. 2561.กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา.

Assael, H. (2004). Consumer behavior: A strategic approach. Houghton Mifflin.

Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication. The Free Press.

Hair, J. et al. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). NJ: Pearson

Education International.

Holt, D. B. (2004). How Brands Become Icons: The Principles of Cultural Branding.

MA: Harvard Business Press.

Kotler, P., and Keller, K. L. (2009). Marketing management (13th ed.). NJ: Pearson Prentice Hall.

Lindsay, F. (2015). The seven pillars of storytelling. Sparkol Books.

Schmitt, B. H. (1999). Experiential marketing: How to get consumers to sense, feel, think, and relate to your company and brands, The Free Press.

Schmitt, B. H. (2003). Competitive advantage through the customer experience. Retrieved June 25, 2019, from http://www.exgroup.com

Solomon, M. R. (2011). Consumer behavior: Buying, having, and being (9th ed.).NJ: Pearson Prentice Hall.