บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตยในการควบคุมเฝ้าระวัง โรคโควิด-19 ในพื้นที่แขวงคลองเตยเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภัทราภรณ์ บุญชัยเลิศ
ปกรณ์ ปรียากร
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ
ทิพนาถ ชารีรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในการควบคุมเฝ้าระวังโรค COVID-19 พื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อบทบาทในการควบคุมเฝ้าระวังโรค COVID-19 และศึกษาปัญหาและอุปสรรคบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในการควบคุมเฝ้าระวังโรค COVID-19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 130 คน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตยในการควบคุมเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในพื้นที่แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับบทบาทมาก (= 4.33, S.D. = .350) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับดังนี้ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมป้องกันควบคุมโรคติดต่อของ อสส. เรื่องโควิด-19 (=4.50,  S.D. =  .428) รองลงมา คือ ด้านการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน (จากประสบการณ์ของตนเอง) (=4.38, S.D. =  .415) และน้อยที่สุด คือ ด้านการประสานงานกับบุคคล องค์กรและเครือข่าย  (=4.18, S.D. = .269) ซึ่งปัญหาและอุปสรรคที่พบได้แก่ ชุมชนในพื้นที่แขวงคลองเตยเขตคลองเตย ลักษณะชุมชนส่วนใหญ่เป็นชุมชนแออัด อาสาสมัครสาธารณสุขบางคนมีโรคประจำตัว ที่ไม่เอื้อต่อการทำงานเกี่ยวกับโรคโควิด-19ประชาชนบางส่วนขาดความรู้ในเรื่องกันดูแลสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และขาดการประชาสัมพันธ์ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
บุญชัยเลิศ ภ. ., ปรียากร ป. ., ปิยะสกุลเกียรติ อ. ., & ชารีรักษ์ ท. (2022). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตยในการควบคุมเฝ้าระวัง โรคโควิด-19 ในพื้นที่แขวงคลองเตยเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 71–80. https://doi.org/10.14456/issc.2022.26
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรมกลุ่มที่ 2. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563, 21 พฤศจิกายน). คู่มือ อสม. หมอประจำบ้าน. www.http://xnycri.com/document.pdf.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(256321 พฤศจิกายน). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดสาธารณสุขระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564). http://wops.moph.go.th/ops/oicdata /20190329105418 _1_.pdf.

ธีระพงษ์ ทศวัฒน์. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 53-54.

วิทยา ชินบุตรและนภัทร ภักดีสรวิชญ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 6(2): 304-318.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวง (2559, 21 พฤศจิกายน). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข. https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117MinistryofPublicHealt

h.pdf.

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1), 24-26

Allport, Gordon William. (1973). Personality: A psychological Interpretation.Holt.