ปัจจัยทางสังคมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ทิพวรรณ ประโคทะสังข์
วิลาสินี จินตลิขิตดี

บทคัดย่อ

นโยบายและแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ที่สอดคล้องกับนโยบายในระดับต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน และชุมชนเป็นฐานสำคัญ ในการสร้างและพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 2) ปัจจัยทางสังคมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) เปรียบเทียบการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมกับการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ การวิจัยนี้มาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 382 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยทางสังคมส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น     อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพในชุมชนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน และ 4) ปัจจัยทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย แนวทางในการบริหารและการพัฒนาท้องถิ่น และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ประโคทะสังข์ ท., & จินตลิขิตดี ว. (2023). ปัจจัยทางสังคมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(4), 26–37. https://doi.org/10.14456/issc.2023.60
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. บพิธการพิมพ์.

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ศึกษาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษาทฤษฎีฐานราก.วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 1(4), 51-65.

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2552). ภาวะผู้นำสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. ธีรสาส์น พับลิชเชอร์ จำกัด.

จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโน. (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,6(ฉบับพิเศษ), 10-15.

จตุพร สังขวรรณ. (2557). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ (Strategic leadership). ซีเอด็ยเูคชัน.

จินตนา กาญจนวิสุทธิ์. (2558). เส้นทางวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพและการพึ่งตนเอง. มีนเซอร์วิิส ซััพพลาย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย : แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. อมรการพิมพ์.

ชลกาญจน์ ฮาชันนารี. (2548). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนาชุมชน. สำนักงานกองทุนและสนับสนุนการวิจัย.

นิพัทธ กานตอัมพร. (2559, 30 เมษายน). กลยุทธ์การสร้างเครือข่าย. http://kmcenter.rid.go.th/- kmc17/datafile/ab37.ppt

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2557). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. เซ็นทรัล เอ็กช์เพรส.

บุญทัน ดอกไธสง (2535). การจัดการองค์การ. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. มนตรี.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม:ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ(พิมพ์ครั้งที่ 2). บุ๊คพอยท์.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ (Leadership). ธนธัชการพิมพ์.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. (2560, 2 เมษายน). https:// sites.google.com/site/Mbakrabi/phawa-phuna-laea-kar-brihar-kar-peliynpaelng.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2554). หลักการปกครองท้องถิ่น. ทองกมลการพิมพ์.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2555). การพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2).ไทยวัฒนาพานิช.

สมณะ โพธิรักษ์. (2555, 30 เมษายน). ลักษณะของชุมชนเข้มแข็ง.http://www.asoke.info/04Agriculture/OFNT/KudinfaProject/01Community.html.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2547, 10 ตุลาคม). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนกับองค์กรอิสระในการสร้างธรรมาภิบาล, เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการองค์กรอิสระ ประจำปี 2547

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2543). เหตุอยู่ที่ท้องถิ่น ปัญหาการเมืองการปกครองระดับชาติที่มีสาเหตุมาจากการ ปกครองท้องถิ่นที่ไม่พอเพียง. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organization effectiveness through transformational leadership. CA: Sage.

Burns, J. M. (1978). Leadership. Harper and Row.

Kuhnert, K. W. (1994). Developing people through delegation. In B. M. Bass & B. J.

Maxwell, J.C. (2002). Leadership 101: What Every Leader Needs to Know. Thomas nelson publish.