การศึกษาเปรียบเทียบกลไกการตรวจสอบการละเมิดมาตรฐานทางจริยธรรม อย่างร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษากลไกและการตรวจสอบการละเมิดมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ การศึกษาจะทำบนพื้นฐานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 ในประเด็นต่างๆ เช่น วิวัฒนาการ อุปสรรค และการบังคับการให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว
บทความนี้ได้ทำการศึกษากลไกในการตรวจสอบการละเมิดมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในต่างประเทศด้วย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐเกาหลี
เพื่อเปรียบเทียบกับกลการตรวจสอบของประเทศไทย และเพื่อหาทางปรับปรุงกลไกการตรวจสอบของประเทศไทย
บทความนี้ค้นพบว่า กลไกการตรวจสอบมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีประสิทธิภาพต่ำกว่ากลไกดังกล่าวตามที่กำหนดไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรพ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 เพราะรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ตัดอำนาจการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการการตรวจสอบออก ดังนั้น ประเทศไทยควรปรับปรุงกลไกเพื่อการตรวจสอบการละเมิดมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กานดา สิริฤทธิภักดี. (2538). การนำระบบอิมพีชเมนต์มาใช้ในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย. (2556). การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยประชาชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2558). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). วิญญูชน.
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์. (2550). จดหมายเหตุและตรวจรายงานการประชุม,เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
คริษฐา ดาราศร. (2548). ปัญหาการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลัช จงสืบพันธ์ และคณะ. (2551). ความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540(พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันพระปกเกล้า.
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2553). จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อนการคอร์รัปชัน (พิมพ์ครั้งที่ 1). สายธาร.
นิยม รัฐอมฤต และคณะ. (2552). จรรยาบรรณสำหรับสมาชิกรัฐสภา การศึกษาเปรียบเทียบ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบัน พระปกเกล้า.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). ระบบการตรวจสอบทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์. (2563). The USA Impeachment Overview : ระบบการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของสหรัฐอเมริกา. https://www.publiclaw.net
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพาณิช. (2555). บทบาทของฝ่ายตุลาการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต: ศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
เผด็จการ ด้วงโท. (2557). การตรวจสอบจริยธรรมนักการเมือง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรณพร สนธิไชย. (2556). ปัญหาการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฟารีส อินาวัง. (2559). ปัญหาการวินิจฉัยข้อพิพาททางการเมืองโดยศาลรัฐธรรมนูญไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชลัช จงสืบพันธ์ และคณะ. (2551). ความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. สถาบันพระปกเกล้า.
ทวี ทรัพย์คงทน. (2561). ปัญหาการถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยองค์กรตุลาการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภูมิ มูลศิลป์. (2554) ปัญหากระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในวุฒิสภา. วารสารจันทรเกษมสาร, 17(33),20-34.
มนตรี เจนวิทยการ. (2541). จริยธรรมนักการเมือง แนวคิดเพื่อการศึกษาวิจัย กรณีของประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐเกาหลี. (2563). [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.parliament.go.th
วิชา มหาคุณ. (2538). การตรวจสอบในทางตุลาการ: ศึกษาจากกรณีประกาศ รสช. ฉบับที่ 26. วารสารนิติศาสตร์, 23(2),23- 34.
อภิวัฒน์ สุดสาว. (2555) แนวคิดและทฤษฎีในกรณีการให้กรรมการ ป.ป.ช. พ้นจากตำแหน่ง. วารสารจุลนิติ, 9(1), 21-36.
อมร สุวรรณโรจน์. (2555). ปัญหาการพิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในชั้นวุฒิสภา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุทัย อาทิเวช. (2550). อำนาจและจริยธรรมในการปกครอง. วารสารร่มพฤกษ์, 25(3),10-25.
The House of Lords. (2017). Code of Conduct for Members of the House of Lords [Online], Source: https://publications.parliament.uk
U.K. Parliament. (2020). The UK public members of parliament [Online], Source: http://www.parliament.uk
U.S. Government. (2020). The Constitution Of The United States [Online], Source: https://constitutionus.com
U.S. Senate. (2019). Creation of the Select Committee on Standards and Conduct [Online], Source: https://www.ethics.senate.gov