การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน

Main Article Content

เสกสรรณ ประเสริฐ
Preecha Phannan

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขไปสู่การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ 4 กลุ่มคือผู้แทนองค์กรข่าวที่สื่อข่าวเชิงสืบสวน ผู้ชำนาญการด้านการสื่อข่าวเชิงสืบสวน นักวิชาการด้านข่าวเชิงสืบสวน และผู้ปฏิบัติงานด้านการสื่อข่าวเชิงสืบสวน


            ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขไปสู่การพัฒนากระบวนการสื่อข่าวเชิงสืบสวนนั้นพบว่านักข่าวที่ขาดความรู้รอบด้าน ขาดความชำนาญในการหาข้อมูล ขาดการช่วยเหลือในด้านกฎหมายและความปลอดภัย รวมทั้งองค์กรข่าวไม่เปิดพื้นที่ในการนำเสนอข่าวให้นักข่าว ทำให้การสื่อข่าวเชิงสืบสวนไม่ประสบความสำเร็จ แนวทางแก้ไขคือองค์กรข่าวควรเป็นองค์กรที่ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ สุจริต เปิดเผย ควรจัดตั้งหน่วยงานช่วยเหลือเมื่อถูกคุกคาม นักข่าวจะต้องมีจริยธรรมและเคร่งครัดในจรรยาบรรณ พร้อมฝึกฝนความรู้ ทักษะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ การประยุกต์ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูล (Crowd-sourcing) การหลอมรวมสื่อ (Convergence) การสร้างนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) จากประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในสังคม และการใช้วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล (Database Journalism) ในงานข่าวเชิงสืบสวนสามารถช่วยจัดการฐานข้อมูล (Database Manager) ได้ครบถ้วนและยังช่วยทำให้ข้อมูลจากแหล่งข่าวถูกต้องชัดเจน กระบวนการสื่อสารในลักษณะนี้ของนักข่าวและผู้รับสารทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์มากขึ้นในกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการเสนอข่าวสืบสวน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศชยันต์ วาหะรักษ์. (2554). เทคนิคการรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนของหนังสือพิมพ์แนวประชานิยม. กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นรินทร์ นำเจริญ. (2549). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรายงานข่าว. กรุงเทพฯ: สามลดา.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2555). การรายงานข่าวเชิงสืบสวนและตีความ. เอกสารการสอนชุดวิชาการข่าวขั้นสูงและการบรรณาธิกร. นนทบุรี: คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

_____________. (2556). วารสารศาสตร์เบื้องต้น: ปรัชญาและแนวคิด. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนตรี จุ้ยม่วงศรี. (2558). พัฒนาการข่าวยอดเยี่ยมรางวัลมูลนิธิอิศรา อมันตกุล กับการกำหนดบทบาทและแนวทางในการรายงานข่าวเชิงสืบสวนเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน. กรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา. (2558). สื่อเชิงสืบสวนในทีวีดิจิตอลช่องข่าวสารและสาระ. สำนักงานส่งเสริมการแข่งขันและกำกับดูแลกันเอง(สส.)สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.).

สมหมาย ปาริจฉัตต์. (2537). ข่าวเจาะ-เจาะข่าว. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

_______________. (2537). คู่มือการรายงานข่าวเชิงสืบสวน. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บริษัท ที.พี.พริ้นท์ จำกัด.

เสนาะ สุขเจริญ. (2549). ข่าวสืบสวน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ openbooks.

สายศิริ ด่านวัฒนะ. (2548). การรายงานข่าวเชิงสืบสวนของหนังสือพิมพ์ไทย. นนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุชาดา จักรพิสุทธิ์. (2551). แนวทางการทำให้เกิดการเสนอข่าวเชิงสืบสวนในสื่อหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Feldstein, Mark., (2006). A muckraking model investigative reporting cycles in American history. The Harvard International Journal of Press/Politics 11.2: p. 105-120.

Stetka, Vaclav, and Henrik Örnebring, (2013). Investigative Journalism in Central and Eastern Europe Autonomy, Business Models, and Democratic Roles. The International Journal of Press/Politics 18.4: p. 413-435.

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (1 กันยายน 2562). USER-GENERATED CONTENT: ยุคสื่อของผู้ใช้. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/58244.

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. (27 ตุลาคม 2561). หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของนวารสารศาสตร์. สืบค้นจาก http://www.tja.or.th/.

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. (4 พฤศจิกายน 2561). ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์. สืบค้นจาก http://www.presscouncil.or.th.