แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้อัตลักษณ์และเรื่องราวของวิถีชุมชน ในตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

วิชุดา จันทร์เวโรจน์
กิตติวงค์ สาสวด
ณฐ สบายสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และเรื่องราวของวิถีชุมชน สภาพการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในการสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างตราสัญลักษณ์กับผู้ซื้อในพื้นที่ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 200 ราย จากกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชนตำบลคลองเขื่อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 20 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความคิดเห็นของผู้ผลิตสินค้าที่มีระดับการปฏิบัติทั้ง 6 ด้าน พบว่า ภาพรวมมีระดับการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ความสำเร็จทางการตลาด ความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า เทคโนโลยี การใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ความยากต่อการลอกเลียนแบบ ตำบลคลองเขื่อนควรสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน มีการอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ ในขณะเดียวกันมีการเผยแพร่อัตลักษณ์ผ่านการท่องเที่ยว ผู้นำชุมชนได้สร้างกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว โดยยังคงรักษาวิถีความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมไว้ ชุมชนตำบลคลองเขื่อนมีระบบเศรษฐกิจเป็นของตัวเอง มีครอบครัวและชุมชนเป็นหน่วยการผลิต ปัญหาด้านการผลิตสินค้าของชุมชนตำบลคลองเขื่อนได้แก่ วัตถุดิบในพื้นที่หายาก และมีราคาแพง ต้นทุนการผลิตสูงแต่ขายได้ในราคาต่ำ สมาชิกขาดความร่วมมือ ความสามัคคี และความรับผิดชอบ การพัฒนาต้องเริ่มจากฐานวัฒนธรรมชุมชน ต้องรื้อฟื้นคุณค่าดั้งเดิมที่ชุมชนมีอยู่มาประยุกต์สร้างสรรค์ทางเลือกขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ตลอดจนภาครัฐควรมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ และมีการบูรณาการร่วมกันในหลายหน่วยงาน  2) ควรพัฒนาและฟื้นฟู ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ความสำเร็จทางการตลาด ความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า เทคโนโลยี การใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความยากต่อการลอกเลียนแบบตลอดจนภาครัฐมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ มีการบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงาน ควรสร้างอัตลักษณ์และเรื่องราวของวิถีชุมชนตำบลคลองเขื่อนในตราสินค้าเพื่อสร้างรายได้ เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งผู้นำชุมชนได้สร้างกิจกรรมเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยรักษาวิถีความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศณีย์ สัตตรัตนขจร, สยุมภู อุนยะพันธ์, และอัจฉรา สุขจิตต์. (2558). การศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนจากภูมิ

ปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชนตำบลหลวงใต้ อ.งาว จ.ลำปาง. การประชุม

วิชาการระดับชาติ วิทยาการจัดการวิชาการ 2015 วิจัยเพื่อสร้างสรรค์ เศรษฐกิจชุมชน สู่ประชาคม

อาเซียน คณะวิทยาการจัดการ เครือข่ายมหาวิทยาราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ วันที่ 20-21 ก.พ. 2558 ณ

โรงแรมอิเอ็มเพรส ถ.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่.

ขวัญเนตร อริยวงศ์พานิช และคณะ. (2551). ส่วนประสมการตลาดสินค้าศิลปหัตถกรรมของตำบลเกาะ

เกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี กรณีศึกษา นักท่องเที่ยวชาวไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร,:

ม.ป.ท.

จุฑามาศ ทองแก้ว, ประพาภรณ์ มานะกิจสมบูรณ์, เยาวลักษณ์ พรหมพัฒน์, ศิริมา ศ ทองลิ้นจี่, โสภิดา อุณา

ตระการ และจุรีรัตน์ บัวแก้ว. (2559). การบริหารจัดการภูมิปัญญา พัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานเชือกมัด

ฟาง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 8(1), 134-150.

ทรงคุณ จันทจร, พิสิฎฐ์ บุญชัย, และไพรัช ถิตย์ผาด. (2552). คุณค่าอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการ

นำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ภาคกลาง และภาคใต้. รายงานการวิจัยศิลปและวัฒนธรรมอีสาน: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญเกียรติ ไทรชมภู. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นที่คุ้งบางกะเจ้า (กระเพาะหมู)

ตําบลเพื่อการท่องเที่ยวและรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระ

นคร: กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). มาตราส่วนประมาณค่าตามวิธีของลิเคร์ท. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา

ลาดพร้าว.

ปฐวี ศรีโสภา. (2553). การสร้างอัตลักษณ์ชุมชนในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหาร: กรณีศึกษาจังหวัด

สมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พลอย มัลลิกะมาส. (2554). สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก

http://www.tcdc.or.th/articles/business-industrial/16302/#แปรรูป-วัฒนธรรมท้องถิ่น-

อย่างไร…ให้ได้เงินล้าน

พวงทอง วรรณีเวชศิลป์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารธุรกิจกลุ่มอาชีพกระเป๋าสานเส้นพลาสติก

ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปรัชญา

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากาจัดการเพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

พัณณิตา มิตรภักดี. (2561). สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563 จาก

https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/CreativeEconomyinAction

มธุรา สวนศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ตลาด

น้ำบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกระแสวัฒนธรรม. 17(31), 41-45.

สุชาติ จรประดิษฐ์. (2557). อิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

สร้างสรรค์ และคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่ง

ตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย . วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดประเทศไทย 4.0. ไทยรัฐ ฉ.2.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 1.

คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อารยา บุญทวี, จินดา เนื่องจำนงค์, และวชิรพงศ์ มณีนันทิวัฒน์. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพทุน

ทางวัฒนธรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร

มนุษยสังคมปริทัศ, 20(1), 67-85.

เอกชัย พุมดวง และยุสนีย์ โสมทัศน์. (2557). กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมตามแนว

เศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพ ในตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

Cochran W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd Edn). Wiley, New York.

Elliott, A., & Du Gay, P. (Eds.). (2009). Identity in question. Sage.

Gilroy, P. (1997). Diaspora and the Detours of Identity. Open University Press.

Zhao, Z. Q., Zheng, P., Xu, S. T., & Wu, X. (2019). Object detection with deep learning: A

review. IEEE transactions on neural networks and learning systems, 30(11), 3212-3232.