การสื่อสารข้อมูลด้านการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายในวัด: การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับวัดบ่อเงิน จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สกนธ์ ภู่งามดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนบริเวณวัดบ่อเงิน จังหวัดปทุมธานี  2) ศึกษาปัญหาการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ชุดเดิมเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของวัด ฯ 3) ศึกษาความต้องการในการออกแบบสื่อชุดใหม่เพื่อสื่อสารข้อมูลการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของวัด ฯ และ 4) พัฒนาต้นแบบสื่อชุดใหม่เพื่อสื่อสารข้อมูลการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของวัด ฯ วิธีการวิจัย ได้แก่ 1) ศึกษาวิจัยจากเอกสาร เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) สังเกตแบบมีส่วนร่วม และ 3) สัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) วัดบ่อเงิน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย โดยชุมชนร่วมกันสนับสนุนการสร้างวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 วัดแห่งนี้มีความผูกพันด้วยการทำกิจของสงฆ์ที่เอื้อต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นที่ปรึกษาและที่พึ่งทางจิตใจ เป็นผู้นำในการประกอบพิธีทางพุทธศาสนา ร่วมกับหน่วยงานราชในการสร้างโรงเรียนในที่ธรณีสงฆ์ เป็นต้น 2) ปัญหาการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ชุดเดิมในการรณรงค์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ของวัด ฯ คือ สื่อที่วัดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนสื่อที่เป็นป้ายแขวนเพียง 4 ชิ้น รวมทั้งสื่อดังกล่าวไม่มีความสวยงามเท่าที่ควรจึงไม่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้ามาทำกิจกรรมในวัดให้รับรู้ข้อมูลในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3) ความต้องการในการออกแบบสื่อชุดใหม่ คือ ควรเน้นการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคดังกล่าวที่สั้นกระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย รวมทั้งขนาดของสื่อไม่ควรใหญ่มากเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ภายในวัด  และ 4) แนวทางการพัฒนาสื่อชุดใหม่ คือ เน้นการนำเสนอข้อมูลเพื่อการป้องกันตนเองจากโรคดังกล่าว ที่ชั้นกระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย  รวมทั้งกำหนดรูปแบบไฟล์ต้นแบบสื่อให้สามารถนำไฟล์ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการผลิตเป็นสื่อประเภทต่าง ๆ ที่หลากหลายมากขึ้นตามความต้องการของวัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2525). แนวทางการดำเนินงานหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2555). การพัฒนาการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 10 กรกฎาคม 2563.
จาก http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/section2/ca520/11.htm.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2549). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิจิตร อาวกุล. (2545). การประชาสัมพันธ์หลักและวิธีปฏิบัติ. (พิมพ์ครังที 4).กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สกนธ์ ภู่งามดี. (2548). การประเมินสารในงานนิเทสศิลป์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2549). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสวนสุนันทา.
Barnlund, D. C. (2008). A transactional model of communication. New Brunswick, New Jersey: Transaction.
McIntire, P. (2008). Visual Design for the Modern Web. Chianghai: New Riders Press.
Phu-ngamdee, S. (2005). Message assessment in communication arts. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat
Open University.
Stevenson,O. (2021, July). What is design theory?, the only guide you need. Retrieved July 26, 2021, from https://www.shillingtoneducation.com/blog/design-theory/