การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม : ชุด “ความฝันที่เติมเต็ม”

Main Article Content

เอกชัย วรรณแก้ว
สุรศักดิ์ สีลูกวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ ผู้วิจัยเป็นผู้พิการทางด้านการเคลื่อนไหวตั้งแต่กำเนิด จึงได้รับแรงบันดาลใจจากความทรงจำในอดีตจนถึงปัจจุบันของผู้วิจัยที่แสนเจ็บปวด โดยได้รับผลกระทบจาก แรงกดดันในตัวเอง และจากสังคมรอบข้าง ทำให้มีความต้องการที่จะสะท้อนความเป็นจริงของสังคม สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำ สิทธิคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส อันเนื่องมาจากปัญหาสังคม เช่น ความยากจน การขาดโอกาสทางการศึกษา การเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เป็นต้น จากผลกระทบดังกล่าว ทำให้ผู้พิการบางคนไม่ได้รับสิทธิเท่าเทียมเหมือนคนปกติ ถึงแม้ว่าผู้พิการจะมีความรู้ความสามารถแต่เข้าไม่ถึงโอกาสขั้นพื้นฐานก็ไม่สามารถที่จะได้ทำงานเหมือนคนปกติได้ โดยถ่ายทอดผลงานวิจัยผ่านการสร้างสรรค์งานศิลปะเซอร์เรียลิสม์ (Surrealism) ที่มีรูปแบบการนำเสนอสาระหรือเรื่องราวในอดีต ที่มีผลต่อจิตใจของศิลปิน มักจะนำเสนอผลงานในด้านลบ เพื่อเป็นการสั่งสอนหรือเสียดสีสังคม เป็นเรื่องราวที่ เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านการรับรู้ด้วยจิตใจหรือความคิดฝัน มีมิติด้านกาลเวลาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การศึกษาพบว่า ผลงานศิลปะที่ผู้วิจัยได้ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบเซอร์เรียลิสม์ (Surrealism) ทำให้ผู้วิจัยมีการพัฒนาด้านความสามารถที่ใช้เพียงปาก คอ และเท้า ในการสร้างสรรค์งานศิลปะเพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ผลงานที่ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกอันเจ็บปวดจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นอย่างดี สะท้อนให้เห็นถึงความจริงของผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากจิตใจมาตลอดชีวิต สามารถเป็นกระบอกเสียงผ่านงานสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เพื่อให้สังคมได้เห็นค่าของผู้พิการ จนสามารถปรับเปลี่ยนทัศนติระหว่างคนปกติกับผู้พิการได้ไม่มากก็น้อย ให้ผู้พิการได้ยืนอยู่ในสังคมเดียวกันอย่างเท่าเทียม และเป็นการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้อย่างยั่งยืน  

Article Details

How to Cite
วรรณแก้ว เ., & สีลูกวัด ส. (2022). การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม : ชุด “ความฝันที่เติมเต็ม”. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 141–152. https://doi.org/10.14456/issc.2022.33
บท
บทความวิจัย

References

กชพรรณ ไพฑูรณ์. คลื่น/ลม/ทะเล: จากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติสู่ผลงานจิตรกรรม. วารสารสหวิทยาการการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(2), 34-44.

กนกพร ฉิมพลี. (2561). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2560). กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560-2564. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประสพ ลี้เหมือดภัย. (2543). ศิลปะนิยม. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พิพัฒน์ บุญอภัย. จันทบุรี: จากห้วงคำนึงคิดถึงบ้านสู่งานจิตรกรรมบนผ้าใบ. วารสารสหวิทยาการการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(2), 47-58.

สดชื่น ชัยประสาธน์. (2539). จิตรกรรมและวรรณกรรมแนวเซอร์เรียลิสต์ในประเทศไทย พ.ศ.2507-2527.ด้านสุทธาการพิมพ์

Thurstone, L. L., & Chave, E. J.(1960). The measurement of attitude.Chicago University.