มาตรการทางกฎหมายที่มีผลต่อ การซื้อขายยางพาราในตลาดกลางยางพาราจังหวัด

Main Article Content

ศุภธัช ศรีวิพัฒน์
นัฎฐวิกา จันทร์ศรี

บทคัดย่อ

 บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการซื้อขายยางพาราในตลาดกลางยางพาราจังหวัดและวิเคราะห์ปัญหากฎหมายที่มีผลต่อการตัดสินใจไม่เข้ามาซื้อขายยางพาราในตลาดกลางจังหวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ซื้อ และผู้ขายในตลาดท้องถิ่น ถูกคัดเลือกจากจังหวัดที่มีตลาดกลางยางพาราจังหวัด จังหวัดละ 5 ตัวอย่าง รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 30 ตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์กองทุนซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อให้ทราบมาตรการทางกฎหมายที่มีผลต่อการซื้อขายยางพาราในตลาดกลางยางพาราจังหวัดและใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า การซื้อขายยางพาราในตลาดกลางยางพาราจังหวัดปฏิบัติตามระเบียบการยางแห่งประเทศไทยว่าด้วยตลาดยางพาราของการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2564 ซึ่งหลักเกณฑ์ตามระเบียบที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขายยางพารา ดังต่อไปนี้


            ประการที่หนึ่ง การสมัครสมาชิกตามที่กำหนดในข้อที่ 8(4) มีข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่การซื้อขายยางพารา    ประการที่สอง ระยะเวลาการเป็นสมาชิกตามระเบียบข้อที่ 8(3) กำหนดระยะเวลาการเป็นสมาชิกน้อยเกินไป   ประการที่สาม ประเภทยางที่ซื้อขายตามระเบียบข้อที่ 9(1) ไม่มีการซื้อขายจริงในทุกตลาดทำให้ผู้ซื้อผู้ขายต้องหาตลาดที่รองรับยางประเภทนั้น


            ประการที่สี่ วิธีการประมูลยางในข้อที่ 12(1) มีขั้นตอนที่ทำให้ผู้ซื้อยางปริมาณที่น้อยไม่สามารถเข้าประมูลในตลาดได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณี พิสิฐศุภกุล. (2557). เบื้องหลังตลาดและการกำหนดราคายางพาราไทย. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแห่ง ประเทศไทย.
กลุ่มสารสนเทศการเกษตร. (2562). ยางพารา. ยะลา: สeนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยะลา.
กองการยาง. (2562). สถิติยางประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กองพัฒนาตลาดยางพารา. (2563). ผลการดำเนินงานด้านตลาดยางพาราการยางแห่งประเทศไทย ปี2563. กรุงเทพมหานคร: การยางแห่งประเทศไทย.
ฝ่ายวิจัยและเศรษฐกิจยาง. (2563). แผนการดำเนินงานการจัดตั้งสำนักงานตลาดกลางยางพารา โครงการจัดตั้งตลาด กลางยางพาราจังหวัดเชียงราย. กรุงเทพมหานคร:การยางแห่งประเทศไทย.
พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558. (2558, 14 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 132 ตอนที่ 63 ก. หน้า 1-18.
พระราชบัญญัติควบคุม พ.ศ. 2542. (2542, 28 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 105 ก. หน้า 1-14.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2563). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์พืช เศรษฐกิจของภาคใต้ (ยางพาราและปาล์ม น้ำมัน) พ.ศ. 2563. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2550). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สันติ ถิรพัฒน์และ สุภารัตน์ ตันทะนงศักดิ์กุล. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ การใช้ตลาดซื้อขาย ยางพารา ล่วงหน้าของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยเพื่อป้องกันความเสี่ยง. สนับสนุนโดยสำนักงาน กองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.).
อธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ และ อรอุมา ประเสริฐ. (2559). ตลาดยางพาราไทย. วารสารยางพารา. 24(1), 31-37.