การจัดการอุทกภัยโดยชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง

Main Article Content

ศิเรมอร ยงพานิช
ปิยะนุช เงินคล้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง สาเหตุและลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการอุทกภัยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อการบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยของชุมชน และเสนอแนะแนวทางการจัดการอุทกภัยที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอุทกภัยในเขตเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา เขตเทศบาลตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงผลการวิจัยพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการอุทกภัยตามโครงสร้างระบบราชการ พร้อมทั้งบูรณาการการจัดการอุทกภัยร่วมกับภาคส่วนอื่น ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยของชุมชน ประกอบด้วยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความร่วมมือของชุมชนในการเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัย การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับผู้บริหารพื้นที่ และการปรับตัวอยู่ร่วมกับอุทกภัย ขณะเดียวกันชุมชนต้องสามารถจัดการอุทกภัยด้วยตนเอง ตลอดจนมีความเป็นพลเมืองที่ตระหนักถึงการจัดการอุทกภัย และถอดบทเรียนเพื่อวางแนวทางจัดการอุทกภัยในอนาคต

Article Details

How to Cite
ยงพานิช ศ., & เงินคล้าย ป. . (2023). การจัดการอุทกภัยโดยชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 106–115. https://doi.org/10.14456/issc.2023.10
บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ โพธิพัฒน์ และ สุทธินันท์ โสตวิถี. (2562). วิวาทะการตื่นตูมทางด้านสิ่งแวดล้อม. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 2(2), 77-89.

ทวิดา กมลเวชช. (2554). มหัศจรรย์อุทกภัยแบบไทยไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 9(3), 20-39.

ไททัศน์ มาลา, วลัยพร ชิณศรี, และ วิไลลักษณ์ เรืองสม. (2558). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีกับการจัดการปัญหาอุทกภัย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(3), 172-183.

พันธุ์ศิริ ธนาริยะวงศ์. (2556). เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจากอุทกภัย หมู่บ้านเก้ากอ ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยบริการ, 24(1), 51-71.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2563). การอภิบาลบนฐานความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการ แผ่นดิน และแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อนภารกิจของรัฐ. สถาบันพระปกเกล้า.

วินชัย อุยางกูร. (2563). การตัดสินใจจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาพื้นที่ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 3(1), 23-45.

วีระศักดิ์ เครือเทพ, จรัส สุวรรณมาลา, ตระกูล มีชัย, วศิน โกมุท, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, เอื้อารีย์ อึ้งจะนิล, ฐิติยา เพชรมุนี, อรอนงค์ เติมทวีวุฒิ, จักรพงษ์ หนูดำ, เปรมสุดา จิ๋วนอก, และ เจตน์ ดิษฐอุดม. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลการกระจายอำนาจของไทย. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง. (2560). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2558 (ฉบับทบทวน).

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา. (2562). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2558 (ฉบับปรับปรุงประจำปีงบประมาณ 2562).

Abarquez, I., & Murshed, Z. (2004). Community-based disaster risk management: Field practitioners’ handbook.Asian Disaster Preparedness Center.

Andrew, M., & Shah, A. (2003). Citizen-centered governance: A new approach to public sector reform. In A. Shah (Ed.), Bringing Civility in Governance (pp. 1-36). The World Bank.

Denters, B. (2011). Local Governance. In M. Bevir (Ed.), The SAGE Handbook of Governance (pp. 313-329). SAGE.

Gulick, L. (2011). Notes on the theory of organization. In J. S. Ott, J. M. Shafritz, & Y. S. Jang (Eds), Classic reading in organization theory (7th ed.) (pp. 83-91). Wadsworth.

Medury, U. (2008). Toward disaster resilient communities: A new approach for South Asia and Africa. InJ. Pinkowski (Ed.), Disaster Management Handbook (pp. 337-354). CRC Press.

Osborne, S. P. (2010). Introduction: The (new) public governance: a suitable case for treatment?. In S. P. Osborne (Ed.), The new public governance? Emerging perspective on the theory and practice of public governance (pp. 1-16). Routledge.

Perwaiz, A., Sinsupan, T., & Murphy, K. (2015). Empowering communities & strengthening resilience. Asian Disaster Preparedness Center.

Sinhasema, S. (2017). Citizen empowerment: Institutional collaboration between Pak Kret Municipality and its community in the 2011 flood disaster management. Journal of Social Science, 13(1), 163-180.

Sorensen, E., & Torfing, J. (2012). Introduction: Collaborative innovation in the public sector. Innovation Journal, 17(1), 1-14.

Ulum, M. C., & Chaijaroenwatana, B. (2012-2013). Governance and capacity building of handling the flood issue in Bojonegoro Municipality, Indonesia. Journal of Politics and Governance “Sustainable Community Development (I)”, 3(1), 18-34.

World Meteorological Organization. (2017). Integrated flood management tools series: Community-based flood management. https://www.floodmanagement.info/

Yin, R. K. (2014). Case Study Research: Design and Method (5th ed.). SAGE.