ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำในโรงพยาบาลของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำในโรงพยาบาลของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทดสอบอิทธิพลทางตรงระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำและประสิทธิผลของภาวะผู้นำ (2) ทดสอบอิทธิพลทางตรงระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (3) ทดสอบอิทธิพลทางตรงระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิผลของภาวะผู้นำ และ (4) ทดสอบอิทธิพลทางอ้อมระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำและประสิทธิผลของภาวะผู้นำ โดยผ่านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยมีประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรของโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตสุขภาพบริการที่ 6 ของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งอยู่ในจังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรีสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และตราด จำนวน 12,652 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (systematic random sampling) ได้จำนวน 373 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านคุณลักษณะของผู้นำ ด้านคุณลักษณะของผู้ตาม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพฤติกรรมของผู้นำ รวมถึงรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับประสิทธิผลของภาวะผู้นำในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จากการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง พบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำไม่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำ (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำ และ (4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของภาวะผู้นำ โดยส่งผ่านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ภีรดา ศิลปชัย และณัฐชา ธำรงโชติ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจ และความมีประสิทธิภาพการทำงาน ของบุคลากรภายในหน่วยงานด้านชุมชนสัมพันธ์ของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 1(2), 217-235.
สุภาภรณ์ ไกรฤกษ์. (2554). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงพยาบาลที่ประสบความสำเร็จ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2564, 13 ตุลาคม). คู่มือแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563-2565.
การพัฒนาบุคลากร. https://www.ocsc.go.th.
อภิรดี เลาหวิเชียร. (2556). คุณลักษณะของนักบริหารกับประสิทธิผลของภาวะผู้นำกรณีเปรียบเทียบระหว่างบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด และบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฮาลีซาล เจะเลาะ. (2561). ศึกษาแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประสิทธิผลของสำนักนโยบายและแผนกลาโหมในประชาคมอาเซียนกรณีศึกษาสำนักนโยบายและแผนกลาโหม. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 1(2), 113-124.
Bass, B.M., & Avolio, B.J. (1990). The implications of transactional and Transformational leadership for
individual, team, and organization development. Research in Organizational Change and Development, 4(1), 231-272.
Bass, B. M. & Riggio, R.E. (2006). Transformational leadership. (2nded.). Lawrence Erlbaum.
Bauer, T. N., & Green, S. G. (1996). Development of leader–member exchange: A longitudinal
test. Academy of Management Journal, 39(6), 1538–1567. https://doi.org/10.2307/257068
Bradford, D.L., Cohen, A.R. (1984). The post heroic leader. Training & development Journal, 38(1), 40-49.
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.
Carroll, S. J., & Gillen, D. J. (1987). Are the classical management functions useful in describing managerialwork? The Academy of Management Review, 12(1), 38–51. https://doi.org/10.2307/257992
Caruso, C. M., Gill, D.L., Dzewaltowski D.A. & McElroy, M.A. (1990). Psychological and physiological change in competitive success and failure. Journal of Sport and Exercise Psychology, 12, 6-20.
Cicero, L., Pierro, A. & Van Knippenberg, D. (2010). Leadership and uncertainty: How role ambiguity affect the
relationship between leader group prototypicality and leadership effectiveness, British Journal of Management, 21(2), 411-421.
De Cremer, D. & Van Knippenberg, D. (2004), Leader self-sacrifice and leadership effectiveness: The moderating role of leader self-confidence, Organizational behavior and human decision processes, 95(2), 140-155. https://doi.org/ 10.1016/j.obhdp.2004.04.002
DuBrin, A.J. (2010). Principles of leadership.6th ed. Canada: South-Western, Cengage Learning.
Hair, J. F., Jr., Anderson, R. E., Tatham, R. L. and Black, W. C. (1995) Multivariate Data Analysis. (3rd ed.).Macmillan Publishing Company, New York.
Kanste O., Kääriäinen M., Kyngäs H. (2009). Statistical testing of the full-range leadership theory in nursing. Scandinavian Journal of Caring Science, 23, 775-782.
Kanter, R. M. (1985). Managing the human side of change. Management Review, 52–56.
Madlock, P.E. (2008). The link between leadership style, communicator competence, and employee
satisfaction. Journal of Business Communication, 45(1), 61-78.
Podsakoff, P.M., et.al. (1990). Transformational Leader Behaviors and Their Effects on Followers’ Trust in
Leader, Satisfaction, and Organization Citizenship Behaviors, Leadership Quarterly. 1(2), 107-142.
Saiyadain, M. S. (2003). Organizational behavior. New Delhi: Tata. McGraw-Hill.
Stajkovic, A.D. and Luthans, F. (1998). Self-Efficacy and Work-Related Performance A Meta-Analysis. Psychological Bulletin, 124, 240-261.
Yukl, G. (1998). Leadership in organizations. (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Yukl, G. (2010). Leadership in organizations. (7thed.). New Jersey: Pearson.
Yammarino, F. J., & Bass, B. M. (1990). Transformational leadership and multiple levels of analysis. Human
Relations, 43(10), 975-995. https://doi.org/10.1177/001872679004301003
Wood, N. (2008, 31 July). Transformational leadership not autocratic leadership needed in health caremanagement. http://www.nubpages. com/hub/healthcare management.