การศึกษาดนตรีประกอบการแสดงดิเกร์เรียบคณะผู้ใหญ่ดาวุด แขวงทรายกองดินใต้

Main Article Content

สหภาพ ศรีสอาดรักษ์
สุรศักดิ์ จำนงค์สาร

บทคัดย่อ

การศึกษาดนตรีประกอบการแสดงดิเกร์เรียบคณะผู้ใหญ่ดาวุด แขวงทรายกองดินใต้ มีความมุ่งหมายของการวิจัยคือ 1. ศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของการแสดงดิเกร์เรียบคณะผู้ใหญ่ดาวุด แขวงทรายกองดินใต้ ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม 2. รวบรวมและบันทึกบทเพลงในดิเกร์เรียบคณะผู้ใหญ่ดาวุด แขวงทรายกองดินใต้ ผลการศึกษาพบว่า นายประมาณ นูรุดดีน หรือ แชมาน เป็นผู้ที่ริเริ่มนำการแสดงดิเกร์เรียบเข้ามาเผยแพร่ และเป็นผู้ทำการฝึกสอนผู้คนในชุมชน หนึ่งในลูกหลานของแชมานที่ได้รับการสืบทอดการแสดงดิเกร์เรียบจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบันคือ นายสุทัศน์ ยิดนรดิน หรือ ผู้ใหญ่ดาวุด การแสดงดิเกร์เรียบเป็นการแสดงที่มีไว้เพื่อสรรเสริญศาสดามูฮัมหมัดโดยมีดนตรีประกอบ ซึ่งเป็นรูปแบบวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู ซึ่งนำเอาวัฒนธรรมไทยเข้าไปผสมผสาน เครื่องดนตรีหลักที่ใช้บรรเลงประกอบการขับร้องดิเกร์เรียบคือ กลองรำมะนา ส่วนบทร้องภาษาอาหรับเป็นเนื้อหามาจากในคัมภีร์ “บัรซันญี” นอกจากนี้ยังพบการผสมผสานทางวัฒนธรรมดนตรีของหน้าทับกลองที่เกิดจากการปรับเข้าหากันของกลองรำมะนา หน้าทับเพลงภาษาแบบไทย ทำนองเพลงไทยเดิม และทำนองเพลงลูกทุ่ง ซึ่งได้มีการรวบรวมและบันทึกบทขับร้องทำนองเพลงเป็นระบบโน้ตเพลงไทย เพื่อเป็นแนวทางที่จะประยุกต์รูปแบบการแสดงดิเกร์เรียบเพื่อใช้ในทางการศึกษาให้แก่เยาวชน เป็นการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการแสดง ถือเป็นสัญลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เชื่อมโยงมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูเข้าไว้ด้วยกัน

Article Details

How to Cite
ศรีสอาดรักษ์ ส., & จำนงค์สาร ส. (2022). การศึกษาดนตรีประกอบการแสดงดิเกร์เรียบคณะผู้ใหญ่ดาวุด แขวงทรายกองดินใต้. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 102–109. https://doi.org/10.14456/issc.2022.29
บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ กลิ่นแก้ว. (2562). อุเละห์นบี: ดนตรีสรรเสริญศาสดามูฮัมหมัดของมุสลิมไทยภาคกลาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพรินทร์ มากเจริญ. (2551). ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์บริเวณชายแดน: กรณีศึกษา ชุมชนในเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชชิราธร สารธิมา. (2550). การศึกษาวัฒนธรรมลิเกเรียบ คณะวังกังวาล ชุมชน กมาลุ้ลอีมาน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมจัย อนุมานราชธน. (2550). อัลอิสลาม. กรุงเทพฯ: กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ.

เสาวนีย์ จิตต์หมวด. (2531). กลุ่มชาติพันธุ์: ชาวไทยมุสลิม. กรุงเทพฯ: กองทุนสง่ารุจิระอัมพร.