การศึกษาดนตรีในพิธีศพชาวม้ง ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

เกียรติยศ เฉลิมพงษ์
เทพิกา รอดสการ

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้มีจุดหมาย 1) เพื่อศึกษาดนตรีในพิธีศพชาวม้ง ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อศึกษาบทบาทของดนตรีในพิธีศพชาวม้ง ที่มีต่อวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าม้ง ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่าดนตรีในการประกอบพิธีกรรมศพชาวม้งเข็กน้อย ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีบทเพลง 3เพลง ได้แก่ เพลงคือ 1) เพลงรอยเท้าที่หายไป บทเพลงโหมโรงเช้า 2 ) บทเพลงม้ง กลางวัน 3) บทเพลงม้งตอนเย็น เพลงเหล่านี้มีลักษณะของบทเพลงที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมศพชาวม้ง ที่สามารถสื่อถึงคนรักลาจาก เปรียบเสมือนดนตรีเชื่อมถึงดวงจิตวิณญาณเพื่อนำทางไปสู่ปรโลกได้ ทำนองแต่ละเพลงมีทำนองหลัก เพียงทำนองเดียว มีความชัดเจนในบริบทของทำนอง มีเสียงหนักเบาและจังหวะที่ช้า โดยมีลีลาของจังหวะและทำนองดำเนินไปอย่างเรียบง่าย ตามรูปแบบในการจัดพิธีในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ เครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ แคนม้งและกลองม้ง ในการทำประกอบพิธีกรรมศพชาวม้ง หมู่บ้านเข็กน้อย มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตามลักษณะทางกายภาพของชาวเขาหมู่บ้านเข็กน้อยโดยความสัมพันธ์ของดนตรีแคนม้งและกลองม้ง ยังคงอยู่ในพิธีกรรมศพและพิธีกรรมของชาวม้ง สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขจัตภัย บุรุษพัฒน์. (2518). ชาวเขา. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
ชูพินิจ เกษมณี. (2555). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
นิรุตร์ แก้วหล้า. (2562). วัฒนธรรมดนตรีชาติพันธุ์สู่การประดิษฐ์สร้างสรรค์ดนตรีร่วมสมัย : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง ลีซู ลาหู่ ดาระอั้ง ปกาเกอะญอ. (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.
บุญลอย จันทร์ทอง. (2547). ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง หมู่บ้านสบเป็ด อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน.
ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2548). ม้ง: หลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรารถนา มงคลธวัช. (2541). เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าม้งบ้านห้วยน้ำไซ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก (ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2529). ดนตรีวิจักษ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รักษ์สิปป์การพิมพ์.
มณเฑียร รุ่งหิรัญ. (2549). เค่ง : เครื่องดนตรีในวิถีชีวิตม้ง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
วสันต์ชาย อิ่มโอษฐ์. (2543). เค่ง: เครื่องดนตรีของชนเผ่าม้ง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.