การเปิดรับ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการอ่านนวนิยายชายรักชายของกลุ่มสาววายไทย

Main Article Content

ฉัตรธิดา ชูทอง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการอ่านนวนิยายชายรักชายของสาววายไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้หญิงไทยที่มีคุณสมบัติเป็นสาววาย และอ่านนวนิยายชายรักชายในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 20 ปี หรือต่ำกว่า ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้ส่วนตัว/เดือนไม่เกิน 5,000 บาท มีการเปิดรับนวนิยายชายรักชายโดยใช้สื่อเว็บไซต์และแอพพลิเคชันมากที่สุด และส่วนใหญ่เคยซื้อนวนิยายชายรักชาย โดยซื้อผ่านรูปแบบหนังสือเล่มที่จัดพิมพ์ มีความถี่ในการเปิดรับโดยเฉลี่ย 6 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลามากกว่า 2-3 ชั่วโมง และมีสาเหตุหลักในการเปิดรับคือ ความนิยมในนวนิยายรักชายร้กชายกลุ่มตัวอย่างมีระดับทัศนคติเชิงบวกต่อองค์ประกอบนวนิยายชายรักชายทั้ง 4 ด้าน โดยด้านบทสนทนา มีระดับทัศนคติเชิงบวกมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53) และมีแนวโน้มพฤติกรรมในการอ่านนวนิชายรักชายมากที่สุดในประเด็นตั้งใจที่จะอ่านนวนิยายชายรักชายต่อไป ระดับตั้งใจอย่างยิ่ง (ค่าเฉลี่ย = 4.80)


            ผลการการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า สาววายที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน จะมีการเปิดรับนวนิยายชายรักชายไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ พบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับนวนิยายชายรักชายและทัศนคติที่มีต่อองค์ประกอบนวนิยายชายรักชาย และยังพบความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อองค์ประกอบนวนิยายชายรักชายและแนวโน้มพฤติกรรมการอ่านนวนิยายชายรักชายที่นัยสำคัญ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชมพูนุท เหลืองสมบูรณ์. (2561). การเปรียบเทียบการเล่าเรื่อง สัมพันธบท และบริบทของนวนิยาย ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ กรณีศึกษา: ทวิภพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์
ณัฏฐ์ชยา ลีลา. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ การรับรู้ และแนวโน้มพฤติกรรมเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของครูประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาการจัดการการสื่อสารองค์กร
ธีระพร อุวรรณโณ, (2527). [ออนไลน์]. การวัดทัศนคติ : ปัญหาในการใช้เพื่อทำนายพฤติกรรม. โครงการพัฒนาแบบทดสอบ โครงการพัฒนาศึกษาอาเซียน ณ โรงแรม แกรนด์พาเลซ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 30 ตุลาคม 2527. (น. 4). สืบค้นจาก https://issuu.com/165070/docs/___________________________________
ปัณฑิตา โรจนกนันท์. (2559). การรู้จัก ทัศนคติ และความตี่งใจซื้อของผู้บริโภคไทยต่อตราสินค้าที่นำเสนอโดยผู้นำเสนอตราสินค้าและไม่ใช่ผู้นำเสนอตราสินค้าผ่านละครโทรทัศน์เกาหลี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชานิเทศศาสตร์
โพสต์ทูเดย์. (2561). นวนิยาย‘วาย’ ตลาดคนอ่านไม่เคยวาย. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/social/general/571051
ภัชรพรรณ์ อมรศรีวงษ์ และ บัณฑิต สวรรยาวิสุทธิ์. “การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคสื่อของสาววาย.” วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(1), 44-45, 47.
วศิน สันหกรณ์. (2557). ลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และปัจจัยทางการตลาด ที่มีผลต่อการซื้ออะไหล่ประดับยนต์ในสินค้าประเภทหลอดไฟหน้ารถยนต์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะนิเทศศาสตร์.
ว่าที่ร้อยตรี สิทธา อุปนิกขิต. (2553). พฤติกรรมตัวละครวัยรุ่นที่ปรากฏในนวินายายบนอินเทอร์เน็ตและทัศนคติของผู้อ่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ
วิชาญ ทรายอ่อน. (ม.ป.ป). [ออนไลน์]. เพศสภาพ. (กลุ่มงานบริการวิชาการ 3 สํานักวิชาการ). สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-055.pdf
ศรันถ์ ยี่หลั่นสุวรรณ. (2558). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมที่มีต่อโครงการส่งเสริมสังคม ของผู้นำเยาวชนประเทศอาเซียน และญี่ปุ่น ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน
อภิญญา บุญประเสริฐ. (2554). การจดจำและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อศิลปินเกาหลีในฐานะที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์และแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน
อมรา เทศกรณ์. (2520). การวิเคราะห์คุณค่าของหนังสืออ่านนอกเวลา ระดับมัธยมศึกตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์ , แผนกวิชามัธยมศึกษา
อรวรอรวรรณ วิชญวรรรกุล. (2559). ผู้หญิงกับการสร้างนวนิยายชายรักชาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาสื่อสารมวลชน.
CULTURE INSIGHTFUL & SOPHISTICATED ENTERTAINMENT REPORTS (14 สิงหาคม 2017). [ออนไลน์]. LGBT, 5(59-60). สืบค้นจาก https://thestandard.co/read/magazine_issue5#
MARKETINGOOPS. (2017). Innovative Idea: ทำไมสาวๆ ถึงชอบคอนเทนต์วายกันเสียจริง. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/exclusive/opinion/innovative-idea-why-girl-turn-fujoshi/
Read Alert. (2019). Why Y? ถอดสูตรลับ “ซีรีส์-นิยายวาย” ทำไมถึงดัง!. สืบค้นจาก https://readalert.co/enjoyment/variety/%E0%B9%8Dyaoi_novels/2758/