ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้สูงอายุในการได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ศึกษาเฉพาะพื้นที่เทศบาลตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อาทิตยา โภคสุทธิ์
ทัศนีย์ เงินสุข
ปัทมา มัญชุนากร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงแนวความคิดและหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้สูงอายุในการได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้สูงอายุในการได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ และทำการศึกษาเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงที่ได้จากพื้นที่กรณีศึกษาคือ เทศบาลตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษาพบว่า นโยบาย แนวความคิดและหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้สูงอายุมีแนวทางสนับสนุนต่อการรับรองสิทธิผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุต้องได้รับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี ได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองให้พ้นจากการถูกละเมิดสิทธิ นอกจากนั้น ยังได้กำหนดให้มีหน่วยงานที่ให้บริการด้านผู้สูงอายุทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ทำการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้สูงอายุในการได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐซึ่งได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 พบว่า เกิดปัญหาทางด้านกฎหมาย 3 ประเด็นปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาขอบเขตของผู้ทรงสิทธิ ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิที่ผู้สูงอายุได้รับ และปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงสิทธิ ผู้วิจัยจึงเห็นสมควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและทำให้สิทธิของผู้สูงอายุได้เกิดผลเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ พุฒซ้อน และกันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของ
ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 25-35.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2555). คำอธิบายกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2557). กฎหมายรัฐธรรมนูญ แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ.
กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์ และคนอื่นๆ. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำ
ข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติ
ในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2553). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2547). หลักการพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตาม
รัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน .
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์.
กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2555). กฎหมายมหาชนเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภูริชญา วัฒนรุ่ง. (2556). หลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2554). กฎหมายปกครองภาคทั่วไป. กรุงเทพฯ: นิติราษฎร์.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมยศ เชื้อไทย. (2552). หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สมยศ เชื้อไทย. (2558). ความรู้กฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
หยุด แสงอุทัย. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.