คุณลักษณะของศิลปินเกาหลีและเนื้อหาจากรายการเรียลลิตี้ค้นหาศิลปินของประเทศเกาหลีใต้

Main Article Content

สุธาวี ไพบูลย์
ปอรรัชม์ ยอดเณร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เนื้อหาของรายการเรียลลิตี้ค้นหาศิลปินของประเทศเกาหลีใต้ และ 2) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของศิลปินเกาหลีใต้ โดยวิเคราะห์เนื้อหาและคุณลักษณะของผู้ชนะที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินจากรายการโปรดิวซ์ 101 ฤดูกาลที่ 1 โปรดิวซ์ 101 ฤดูกาลที่ 2 และโปรดิวซ์ 48 ก่อนนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนการสร้างศิลปินมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ การทดสอบระดับทักษะ การแข่งขันแบบกลุ่ม การแข่งขันตามตำแหน่ง การประเมินแนวคิด และการประเมินเพลงเดบิวต์ 2) การเล่าเรื่องของทั้ง 3 ฤดูกาล แบ่งเนื้อหารายการออกเป็น 7 ช่วง ได้แก่ 1) การเปิดตัวหรือเปิดเรื่อง 2) การสร้างเรื่องราว 3) การแสดงเพลงและทำภารกิจ 4) การเรียนและการซ้อม 5) การประกาศภารกิจหรือประกาศผลคะแนน 6) กิจกรรมพิเศษ และ 7) เบื้องหลัง รสที่เกิดขึ้นในรายการมีทั้งหมด 8 รส ได้แก่ ความรัก ความสนุก ความพยายาม ความสงสาร ความแปลกใจ ความโกรธ ความกลัว และรสที่พบแต่ไม่อยู่ในทฤษฎีรสและภาวะ คือ ความเครียด คุณลักษณะของศิลปินเกาหลี ได้แก่ มีรูปร่างหน้าตา ภาพลักษณ์ และทัศนคติที่ดี มีความสามารถในการเต้นควบคู่กับการร้องเพลง มีท่าเต้นที่พร้อมเพรียงและการแสดงที่เป็นมืออาชีพ มีทักษะการแสดงสีหน้าท่าทางตามอารมณ์เพลง มีความมุ่งมั่นและแรงจูงใจ มีความเพียรพยายาม มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ รวมทั้งมีทักษะพิเศษ

Article Details

How to Cite
ไพบูลย์ ส., & ยอดเณร ป. (2023). คุณลักษณะของศิลปินเกาหลีและเนื้อหาจากรายการเรียลลิตี้ค้นหาศิลปินของประเทศเกาหลีใต้. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 67–77. https://doi.org/10.14456/issc.2023.7
บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา รักษมณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต.ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คมสัน รัตนะสิมากูล . (2555). หลักการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงและบทวิทยุโทรทัศน์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตนา พุทธเมตะ. (2548). คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของประเทศเกาหลี. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.

บัญชา ธนบุญสมบัติ. (2559,). 10 แง่มุมน่าทึ่งว่าด้วย “คลื่นวัฒนธรรมเกาหลี”. วารสารเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุ, 82(3), 14-21.

ปาจรีย์ จิงประเสริฐกุล. (2558). รู้ไว้ก่อนใช้ชีวิตที่เกาหลี. พิมพ์ดีการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ศูนย์เกาหลีศึกษา (ม.ป.ป., 18 สิงหาคม). บทความที่ 9 คนเกาหลี. http://www3.ru.ac.th/korea/article1/article10.pdf

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2547). เสกฝัน ปั้นหนัง : บทภาพยนตร์. บริษัทบ้านฟ้า.

สมสุข หินวิมาน, ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ, ภัทธีรา สารากรบริรักษ์, อารดา ครุจิต, กรรณิกา รุ่งเจริญพงษ์ และ กุลนารี เสือโรจน์. (2557). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 2).สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาวรรณ วรรธนะศุภกุล. (2550). คุณลักษณะของละครเอเชียยอดนิยม ศึกษากรณีละครญี่ปุ่นไต้หวันและเกาหลีในโทรทัศน์ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Festinger, L. (2021,18 สิงหาคม). Social comparison theory. http://www.bahaistudies.net/asma/selective_exposure-wiki.pdf#page=18

Hong E. (2560). The Birth of Korean Cool กำเนิดกระแสเกาหลี (วิลาส วศินสังวร). เอิร์นเนส พับลิชชิ่ง.

Reder.red. (2564, 4 สิงหาคม). The Comparison Effect… เปรียบเทียบมากไปก็จิตใจว้าวุ่น. https://reder.red/the-comparison-effect-22-07-2020/