บทบาทการบริหารของผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ในภาวะวิกฤต COVID-19

Main Article Content

อภิวัฒน์ ผ่านเสนา
สุวรรณี แสงมหาชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทการบริหารของผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครในการรับมือกับสถานการณ์ภาวะวิกฤต COVID-19 และ 2) แนวทางการบริหารของผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครในภาวะวิกฤต COVID-19 การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าฝ่ายระดับชำนาญการพิเศษ ตลอดจนพนักงานระดับปฏิบัติการ รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 47 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและการตีความแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการศึกษาพบว่า


ผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร มีบทบาทการบริหารในภารกิจหลัก 5 ประการ คือ 1) บทบาทในการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ได้แก่การสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19  2) บทบาทในการตัดสินใจในภาวะวิกฤต สู่การทำงานเชิงบูรณาการและเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการจากส่วนกลาง 3) บทบาทในการสร้างความหมาย ให้ความสำคัญกับการสื่อสาร และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต่อสาธารณชน 4) บทบาทในการยุติวิกฤต เป็นการจัดการแก้ไขปัญหาวิกฤตเพื่อกลับคืนสู่สภาวะปกติ 5) บทบาทในการเรียนรู้ เป็นการนำประสบการณ์ที่ได้จากการระบาดทั้ง 3 ระลอกมาเป็นบทเรียนและเรียนรู้ในการค้นหาแนวทางควบคุมการแพร่ระบาดในอนาคต  การจัดการภาวะวิกฤตมีแนวทางการจัดการเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ การจัดเตรียมแผนงาน จัดระบบโครงสร้างการทำงาน การนำ การควบคุมกำกับดูแล การเตรียมบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ 2) การป้องกัน โดยจัดทำแผนการป้องกันภาวะวิกฤต และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3)  การตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤต  เป็นการรับมืออย่างรวดเร็ว และระมัดระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาด 4) การฟื้นฟู เป็นการเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบ 

Article Details

How to Cite
ผ่านเสนา อ., & แสงมหาชัย ส. (2024). บทบาทการบริหารของผู้อำนวยการสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ในภาวะวิกฤต COVID-19. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(1), 198–205. https://doi.org/10.14456/issc.2024.17
บท
บทความวิจัย

References

Boin, A. and McConnell, A., (2007). Preparing for Critical Infrastructure Breakdowns: The Limits of CrisisManagement and the Need for Resilience,15(1), 233-256.

Boin, A., ’t Hart, P., Stern, E. and Sundelius, B. (2005), The Politics of Crisis Management: Public Leadership under Pressure. Cambridge University Press.

Boin, R.A., Kofman-Bos, C. and Overdijk, W.I.E. (2004). Crisis Simulations: Exploring Tomorrow’s Vulnerabilities and Threats, Simulation and Gaming: An International Journal of Theory, Practice and Research, 35(3), 378–393.

Comfort and Louise K. (1999). Shared Risk: Complex Systems in Seismic Response. Pergamon Press.

Deloitte, 2020. Leadership styles of the future. How COVID-19 is shaping leadership beyond the crisis. Deloitte Touche Tohmatsu Limited, a UK private company, limited by guarantee

Eichhorst,W., Marx, P. and Rinne, U., (2021). COVID-19 Crisis Response Monitoring: The Second Phase of the Crisis. Schaumburg-Lippe-Strafe 5–9 53113 Bonn, Germany. IZA – Institute of Labor Economics.

Katz, L. (2009). Skills of an Effective Administrator. Harvard Business School Publishing Coporation (Originally published Harvard Business Review in 1974) Reprint 74509, 6-10.

Lebel, L., Lebel, P., & Daniel, R. (2010). Water insecurities and climate change adaptation in Thailand. In Shaw, R., Pulhin, J. M., & Pereira, J. J. (Eds.), Climate change adaptation and disaster risk reduction: An Asian perspective community. environment and disaster risk management,5(2), 349-372.

Majdouline Mhalla. (2020). The Impact of Novel Coronavirus (Covid-19) on the Global Oil and Aviation Markets. Journal of Asian Scientific Research, 10(2), 96-104.

Maxwell, J. (2013, 26 April). Leading through crisis. https:// www.johnmaxwell.com/blog/leadingthroughcrisis/.

Mintzberg, H. (1973). The Nature of Managerial Work. Harper & Row.

Moe, T. L., & Pathranarakul, P. (2006). An integrated approach to natural disaster management: Public project management and its critical success factors. Disaster Prevention and Management,15(3), 396-413.

Nielsen, K. et al. (2009). The mediating effects of team and self-efficacy on the

relationship between transformational leadership, and job satisfaction

and psychological well- being in healthcare professionals: a crosssectional

questionnaire survey. Int J Nurs Stud, 46(9), 1236-1244.

Quinn, R. E. and Rohrbaugh, J. (1983). A spatial model of effectiveness criteria: to unit a competing values approach to organizational analysis. Management Science, 29(3), 363-777.

Rosenthal, U. and Pijnenberg, B. (Eds). (1991). Crisis Management and Decision Making: Simulation Oriented Scenarios. Dordrecht.

‘t Hart, P. (1997). Preparing Policy Makers for Crisis Management: The Role of Simulations. Journal of Contingencies and Crisis Management, 5(4), 207–215.