การศึกษาแนวทางส่งเสริมธุรกิจ SMEs จังหวัดจันทบุรี สู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Main Article Content

รมิดา กาญจนะวงศ์
นงนุช วงษ์สุวรรณ
วิภาวรรณ กลิ่นหอม

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางส่งเสริมธุรกิจ SMEs จังหวัดจันทบุรี สู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเกณฑ์การประเมินองค์กรแห่งนวัตกรรมการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหารงานบุคคลขององค์กร SMEs ในจังหวัดจันทบุรี 3) เพื่อศึกษาแนวทางและวิธีการผลักดันให้ธุรกิจ SMEs ในจังหวัดจันทบุรี เข้าสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาทิ เอกสารงานวิจัยของหน่วยงาน ข้อมูลจากเว็บไซต์และเอกสารจากการเข้าร่วมงานสัมมนาของหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างของหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล หัวหน้าฝ่ายบุคคล และการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสายงานแผนกงานบริหารบุคคลและเจ้าของกิจการจำนวน 12 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการส่งเสริมองค์กรนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 3 คน


          ผลการศึกษาพบว่า 1) เกณฑ์การพิจารณารางวัลนวัตกรรมด้านงานทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 9 หลักเกณฑ์ได้แก่ (1) งานสรรหาและคัดเลือก (Recruit and Selection) (2) งานวางแผนกำลังคน (Workforce Planning) (3) งานรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) (4) งานบุคลากรสัมพันธ์ (Employee Relations) (5) งานค่าตอบแทนและสวัสดิการ (Compensation and Benefit) (6) งานการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) (7) งานการฝึกอบรมและพัฒนา (Training and Development) (8) งานพัฒนาสายอาชีพ (Career Development) และ (9) งานพัฒนาองค์การ (Organization Development) โครงการมีรางวัลใน 4 ระดับ ได้แก่ รางวัลระดับ Silver, Gold, Diamond และชมเชยให้คะแนนแบบเป็นขั้นบันได เพื่อสามารถทำให้กรรมการชุดกลั่นกรองและกรรมการชุดตัดสิน


          2) การบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจ SMEs จังหวัดจันทบุรีได้แยกลักษณะการทำงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทแรกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ประเภทที่สองการบริหารระบบสารสนเทศ (Human Resource Information System) และประเภทที่สามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)


          3)  แนวทางเข้าสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การสื่อสารกับผู้บริหาร, ทบทวนและประเมินองค์กร, ออกแบบแนวทางเก็บรวบรวมข้อมูล, เสนอพิจารณารางวัลนวัตกรรมและประเมินพัฒนาต่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานกำกับและบริหารการคลัง 3. (2561). รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง จังหวัดจันทบุรี ประจำเดือนมิถุนายน 2561. จันทบุรี : สำนักงานคลังจังหวัดจันทบุรี.
คณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัยและเทคโนโลยี รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.
จิรประภา อัครบวร. (2561). การวิเคราะห์ผลการประกวดรางวัลนวัตกรรม ด้านงานทรัพยากรมนุษย์ ปี พ.ศ. 2560. Human Resource and Organization Development Journal. Vol.10 No. 1/2018. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า).
พยัต วุฒิรงค์. (2557). การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มรกต จันทร์กระพ้อ. (2562). การสร้างองค์การแห่งนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศขององค์การ. วารสารนักบริหาร, 62, 52-66.
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. (2559). คู่มือรางวัลนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Thailand HR Innovation Award). กรุงเทพฯ : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย.
Amabile M. (1997). Motivating Creativity in Organizations: On Doing What You Love and Loving What You Do. California Management Review, 40, 39-58.
Atuahene-Gima & Ko. (2001). An Empirical Investigation of the Effect of Market Orientation Alignment on Product Innovation. Organization Science, 12, 54-74.