ผู้นำเชิงสร้างสรรค์ต่อประสิทธิผลของเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ใดบ้างที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย (2) ศึกษาถึงปัจจัยด้านด้านทักษะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ใดบ้างที่ส่งผลประสิทธิผลของเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย และ (3) ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำเชิงสร้างสรรค์ใดบ้างที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย (ยกเว้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบพิเศษ จำนวนทั้งสิ้น 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลในเขตภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ มี 1 ปัจจัย คือ วุฒิภาวะทางอารมณ์ 2) ด้านทักษะผู้นำเชิงสร้างสรรค์มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ทักษะการบริหารความสัมพันธ์ และทักษะในการบริหารงาน และ 3) ด้านพฤติกรรมผู้นำเชิงสร้างสรรค์มี 1 ปัจจัย ได้แก่ วิสัยทัศน์ของผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. ข้อเสนอแนะจากการศึกษา พบว่า เทศบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางหลักเกณฑ์การสรรหา คัดเลือก บรรจุ แต่งตั้งผู้บริหารเทศบาล และสามารถทำให้เทศบาลเกิดประสิทธิผลบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
จันจิรา น้ำขาว. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 389 - 402.
ชัยวุฒิ วรพินธุ์, เพ็ญพิสุทธิ์ ไชยกาญจน์, และ วิมล หอมยิ่ง. (2557). คุณลักษณะภาวะผู้นํายุคใหม่กับสมรรถนะการบริหารงานแบบมืออาชีพของปลัดเทศบาลในภาคกลาง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 86 - 96.
ณัฐฐินันท์ พราหมณ์สังข์. (2550). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นภาพร ขันธนภา. (2554). การจัดองค์การและการบริหารธุรกิจ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รสคนธ์ รัตยเสริมพงศ์. (2557). ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). โรงเรียน : การบริหารสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
วิษณุ เครืองาม. (2553). กระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิทยาลัยการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า.
วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ. (2558). 15 ปี การกระจายอำนาจของไทย: สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และ ประยุทธ์ ชูสอน. (2557). ภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์: แนวคิดและการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
อโณทัย ทัศคร, ไชยา ภาวะบุตร และ สุรัตน์ ดวงชาทม. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของบุคลากรสำนักการศึกษา สังกัดเทศบาลนครสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(4), 71 - 84.
อุทัย เลาหวิเชียร. (2548). ทิศทางการบริหารรัฐกิจในประเทศไทย ใน 50 ปี 2498-2548 คณะรัฐประศาสนศาสตร์สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร.
Cameron, K. M. & Whetten, W. E.. (1983). Overcoming Resistance To Change. HumanRalation, 1(11),99.
Katz, E , Jay, G. Blumler & Michale G. (1974). The Used of Mass Communication: Current Perspectives on Gratifications Research. Beverly. Hill: Sage Publications.
Steers, R. M. (1977). Organization Effectiveness. Goodyear Publishers.
Yukl, G. A. (2013). Leadership in Organizations.(8th ed). Upper Saddle River.