การดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเพื่อการเข้าถึงเนื้อหาสำหรับผู้พิการทางการมองเห็นและการได้ยิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ผู้พิการทางการมองเห็นและการได้ยิน รวมถึงข้อจำกัดในการปฏิบัติงานในการให้บริการดังกล่าว โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล 2 วิธี ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบริการเพื่อคนพิการ
ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในการให้บริการแก่กลุ่มคนพิการเกิดขึ้นจากหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 และประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 และประกาศเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ โดยมีการให้บริการ 3 ประเภทคือ บริการล่ามภาษามือ (Sign Language: SL) คำบรรยายแทนเสียง (Closed Caption: CC) และบริการเสียงบรรยายภาพ (Audio Description: AD) สำหรับข้อจำกัดในการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในการให้บริการแก่กลุ่มคนพิการ ได้แก่ ข้อจำกัดด้านบุคลากร ด้านเทคนิค ด้านเงื่อนไขของเวลาในการผลิตรายการ ด้านงบประมาณ และด้านข้อกำหนดของ กสทช. ข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลต่อการให้บริการแก่กลุ่มคนพิการ สถานีจึงควรมีการพิจารณาเพื่อปรับปรุงให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะมีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสื่อของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ศิวนารถ หงษ์ประยูร. (2558). “การพัฒนารายการข่าวทางสื่ออินเทอร์เน็ตทีวี (IPTV) สำหรับคนหูหนวก.” วารสารสุทธิปริทัศน์. 29(90), 291-312.
ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความต้องการรูปแบบรายการโทรทัศน์ของคนพิการทางสายตา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฐศักดิ์ พงษ์สวัสดิ์. (2558). ความต้องการด้านเนื้อหาของผู้พิการทางสายตาเพื่อผลิตหนังสือเสียงบนแอพพลิเคชั่น“Read for the Blind”. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ และ วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร. (2546). สื่อสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สัญชัย สันติเวส และนิธิวดี ทองป้อง. (2560). “ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้พิการที่ถูกออกแบบเพื่อคนทั้งมวลในที่สาธารณะ.” Veridian E-Journal Silpakorn University. 10(3), 1360-1370.
ปริญญา สิริอัตตะกุล. (2557). “ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการพึ่งตนเองของผู้พิการทางการได้ยิน: กรณีศึกษา จังหวัดชลบุรี.” วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 1(1), 129-152.
ทิวมาส วุฒิธนากรกุล และ นันทิยา ดวงภุมเมศ. (2561). “รายการสาระบันเทิงของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสตามกรอบตัวชี้วัดคุณภาพ รายการสื่อสาธารณะ.” Veridian E-Journal Silpakorn University. 11(1), 428-447.