ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษา

Main Article Content

อุลิช ดิษฐปราณีต
ชญานาภา ลมัยวงษ์
อาทิตยา โภคสุทธิ์
ทรงพร ประมาณ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษา 2) นำเสนอแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก


                ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษา ได้แก่ 1) ประเทศไทยขาดกฎหมายเฉพาะในการคุ้มครองทางด้านการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ ดังนั้น เมื่อเกิดคดีที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ จึงต้องพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงของลักษณะพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์และความสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประเทศไทยมีเพียงกฎหมายอาญามาตรา 326 มาตรา 328 มาตรา 393 และมาตรา 397 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และมาตรา 423 ที่สามารถนำมาปรับใช้ลงโทษผู้กระทำความผิดหากแต่บทลงโทษนั้นไม่รุนแรงพอที่จะยับยั้งหรือปราบปรามผู้กระทำความผิด นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงการกระทำความผิดในลักษณะของการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ 2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีบทลงโทษที่ไม่เพียงพอ และไม่ครอบคลุมต่อการกระทำความผิด 3) ปัญหาการตีความทางกฎหมาย และความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของประชาชน 2. แนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษา ได้แก่ 1)  ควรมีกฎหมายที่บัญญัติใช้โดยเฉพาะทางด้านการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ 2) ควรมีการกำหนดกระบวนการต่าง ๆ และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ที่ชัดเจน 3) ควรมีมาตรการการเยียวยาความเสียหายจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ที่เป็นรูปธรรม 4) ควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ และรณรงค์ต่อต้านพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ 5) ควรมีการสร้างมาตรการที่บูรณาการทางด้านกฎหมาย จิตวิทยาและการดูแลนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยควรมีมาตรการ หรือกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ที่ชัดเจน มีความร่วมมือระหว่างบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีระบบดูแล ช่วยเหลือ เยียวยาทั้งผู้กระทำผิด และผู้ถูกกระทำ รวมถึงพยานผู้ที่อยู่เหตุการณ์ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา และป้องกันการเกิดเหตุซ้ำในการกลั่นแกล้งรังแกผ่านสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

“กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562”. (2562,
สิงหาคม 30). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 94 ก. หน้า 7-8.
กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2563). CYBER BULLYING มีกฎหมายคุ้มครองเหยื่อแค่ไหน?. สืบค้นจาก https://ictgeneral.police.go.th
/?p=434#:~:text=ประมวลกฎหมายอาญา%20มาตรา,ไม่เกินห้าพันบาท&text=ไม่เกินหนึ่งปีหรือ,หรือทั้งจำทั้งปรับ.
จิรกานต์ สิริกวินกอบกุล. (2562). บัณฑิตแห่งอนาคต ผลิตผลที่มีคุณภาพของมหาวิทยาลัยไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการทางอุดมศึกษา The Smarter Future of Higher Education, หน้า 34-49.
ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา. (2563). สถิติและพฤติกรรมการใช้ social media ทั่วโลก Q1 ปี 2020.
สืบค้น จาก https://www.twfdigital.com/blog/2020/02/global-social-media-usage-stats-q1-2020/
นาจรีย์ ชยะบุตร และยศศักดิ์ โกไศยกานนท์. (2560). มาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวจากการข่มเหงรังแกออนไลน์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(40), 32-40.
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. พระบรมราโชวาทเนื่องในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร. 28 พฤศจิกายน 2515.
“พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562”. (2562, พฤษภาคม 27). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136
ตอนที่ 69 ก. หน้า 52-95.
“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560”. (2560, มกราคม 24). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก. หน้า 24-35.
“พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560”. (2560, 13 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 63 ก. หน้า 1-12.
เมธินี สุวรรณกิจ. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 49-70.
“ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วยวิธีคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ.2553”. (2553, 30 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนพิเศษ 40 ง. หน้า
4-5.
วรัชญ์ ครุจิต. (2558). รูปแบบของการสื่อสารในสื่อดิจิทัลที่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อเด็กและเยาวชน
และแนวทางการดูแล ป้องกัน และเสริมสร้างความรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ:สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กเยาวชน.
สถาบันพระปกเกล้า. (2559). กฎหมาย. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0
%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B%B2%E0%B8%A2
อิสริยา ปาริชาติกานนท์ และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 10(1), 77-91.