จันทบุรี: จากห้วงคำนึงคิดถึงบ้านสู่งานจิตรกรรมบนผ้าใบ

Main Article Content

พิพัฒน์ บุญอภัย

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและถ่ายทอดความสำคัญของความคิดถึง ความรัก ความอบอุ่นภายในครอบครัวในแง่ของจิตวิญญาณและความผูกพันระหว่างบุคคล วิเคราะห์และตีความเพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบ 2) ศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบที่ถ่ายทอดออกมาจากความคิดถึง ความรักและความอบอุ่นภายในครอบครัว และจากประสบการณ์ของศิลปินในยุคสมัยต่างๆ 3) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบที่ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาจากประสบการณ์ตรง “จันทบุรี: จากห้วงคำนึงคิดถึงบ้านสู่งานจิตรกรรมบนผ้าใบ” เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความตั้งใจที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความสำคัญและความผูกพันของครอบครัว โดยถ่ายทอดเรื่องราวของวิถีชีวิตความเป็นอยู่และ   อัตลักษณ์ของคนในครอบครัวที่เป็นคนพื้นถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ผ่านผลงานจิตกรรมบนผืนผ้าใบ


            กระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นความคิดถึง ความรัก และความอบอุ่นภายในครอบครัว ทั้งในแง่ของจิตวิทยาสังคมและสุนทรียศาสตร์ จากการศึกษาค้นคว้าและจากประสบการณ์ในอดีต โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัวที่ผู้วิจัยรักและผูกพัน เมื่อศึกษาข้อมูลดังกล่าวแล้ว พบว่าความรู้สึกรักและคิดถึงเป็นเพียงกระบวนการหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและยึดติดอยู่กับมัน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและความสบายใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ไม่ได้คำนึงว่าความรู้สึกสบายใจนั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดไป จึงทำให้ผู้วิจัยเข้าใจกระบวนการความคิดที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้และได้ถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกสู่ผลงานจิตรกรรมบนผืนผ้าใบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2558). ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก 3: ศิลปะในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2547). 109 มองพิศ มองผ่าน งานศิลป์ Pass-Words. กรุงเทพฯ. เมือง โบราณ.
จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2552). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2555). การเปลี่ยนผ่านของเวลา แสง สี สู่จิตรกรรมนามธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะ กรรมการ การวิจัยแห่งชาติ.
จรุงยศ อรัณยะนาค. (2555). ประวัติศาสตร์ศิลปะ. สมุทรปราการ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
นรินทร์ รัตนจันทร์. (2555). ศิลปะตะวันตกศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ.
พิบูล ไวจิตรกรรม. (2559). ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ฉบับนักศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2549). ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.