การพัฒนาเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษา สำหรับศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า

Main Article Content

ชัยวัฒน์ ตรีปักษ์
ฐิติชัย รักบำรุง
นคร ละลอกน้ำ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการระบบให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษา 2) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษาสำหรับศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษา โดยการศึกษาการพัฒนาเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษาสำหรับศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า จำแนกการศึกษาเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การสำรวจความต้องการในการพัฒนาเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟ ส่วนที่ 2 การพัฒนาเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษาสำหรับศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า และส่วนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษาสำหรับศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ แพทย์ นิสิตแพทย์ และบุคลากรของศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลีนิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า จำนวน 288 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความต้องการระบบให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษาของแพทย์ นิสิตแพทย์ และบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 2) การพัฒนาเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษาสำหรับศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีการพัฒนาเว็บไซต์ให้ใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วสามารถรองรับกับระบบงานของศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก เช่น ระบบจองห้องประชุม ระบบแจ้งซ่อม ระบบข้อมูลสารสนเทศ สื่อวีดีโอ และภายในเว็บไซต์ควรมีข้อมูลการแนะนำการใช้งานระบบต่าง ๆ ของศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า โดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 และ 3) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการด้านงานโสตทัศนศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลมาศ อุเทนสุต. (2548). การพัฒนาระบบบริการแผนกผู้ป่วยนอก เพื่อความพึงพอใจของผู้รับบริการในโรงพยาบาลค่ายกฤษณ์สีวะรา จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ฉลอง ทับศรี. (2549). การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instruction design). ชลบุรี: ภาควิชา
เทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถิรายุ เทพสูตร. (2557). การพัฒนาระบบอัจฉริยะเพื่อการให้บริการด้านเทคโนโลยีการศึกษาผ่านเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
แผนพัฒนาแพทยศาสตร์บัณฑิต. (2555). หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แผนยุทธศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2559). ยุทธศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : สำนักยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน.
ศศิธร อ้นหอม. (2555). การพัฒนาระบบบริการของศูนย์สื่อการศึกษาโรงเรียนฐานเทคโนโลยีจังหวัดสมุทรสาคร.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักนโยบายและแผนการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Ethan. M. (2010). Responsive web design. Retrieved May 25 2010. from http://alistapart.com/article/responsive web-design/
PENG W. and ZHOU Y. (2015). The Design and Research of Responsive Web Supporting
Mobile Learning Devices. IEEE.