การพัฒนาชุดอบรมออนไลน์ เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัย สำหรับกลุ่มอำนวยการ โรงพยาบาลพระปกเกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัย สำหรับกลุ่มอำนวยการ โรงพยาบาลพระปกเกล้า ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 85/85 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมออนไลน์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรกลุ่มอำนวยการ โรงพยาบาลพระปกเกล้าที่มีต่อชุดฝึกอบรมออนไลน์ วิธีดำเนินการวิจัยมี 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ วิเคราะห์ปัญหาการป้องกันและการระงับอัคคีภัยของกลุ่มอำนวยการ โรงพยาบาลพระปกเกล้า ระยะที่ 2. ออกแบบ ออกแบบชุดฝึกอบรมออนไลน์การป้องกันและการระงับอัคคีภัย ระยะที่ 3 สร้างชุดฝึกอบรมออนไลน์และหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมออนไลน์ ระยะที่ 4 นำออกแบบชุดฝึกอบรมออนไลน์การป้องกันและการระงับอัคคีภัยไปใช้ ระยะที่ 5 ประเมินผลชุดฝึกอบรมออนไลน์การป้องกันและการระงับอัคคีภัย ตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 = 85/85 และตามเกณฑ์มาตรฐานการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)
ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัย สำหรับกลุ่มอำนวยการ โรงพยาบาลพระปกเกล้า ที่สร้างขึ้นและนำไปทดสอบประสิทธิภาพปรากฏว่าค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบทดสอบชุดฝึกอบรมออนไลน์เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยมีผลประสิทธิภาพเท่ากับ 86.22/86.44 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดค่าดัชนีการป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ที่ E1/E2 = 85/85 และพบว่าประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับกลุ่มอำนวยการ โรงพยาบาลพระปกเกล้า มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .72 มากกว่าเกณฑ์ประสิทธิผลที่ยอมรับได้คือ .50 และพบว่าบุคลากรกลุ่มอำนวยการโรงพยาบาลพระปกเกล้ามีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.58
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
สำนักนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2549). คู่มือการพัฒนาระบบความปลอดภัยให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผังเมืองรวม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน
จรัสศรี รัตตะมาน. (2551).การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมผ่านเว็บ.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชา
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชูชัย สมิทธิไกร (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2531). เอกสารประกอบการสอนชุดเทคโนโลยีการศึกษาหน่วยที่ 1-5. นนทบุรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Design e-learning : หลักการออกแบบการสร้างเว็บ
เพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
พูลศรี เวศย์อุฬาร. (2544). การสร้างแบบทดสอบในเว็บไซต์. กรุงเทพฯ: บริษัท เอช.เอ็น.กรุ๊ป.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สาหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา,
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ราชกิจจานุเบกษา. (2554). พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
พ.ศ. 2554.กรุงเทพฯ
วัชรินทร์ เจริญรัมย์. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ
และการแก้สมการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 121-140.
ศศิพิมพ์ วรรณกูล. (2560). งานวิจัยในชั้นเรียน บทเรียนออนไลน์ วิชาพระพุทธศาสนา
เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาตามแนวทางอริยสัจสี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่5. กรุงเทพฯ: โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.(2550). Teacher Watch. นครปฐม,
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.
Hall, R .H. (1991). Organizations Structure. Processes and education : Prentice–Hall
International.
Kilby. (2008). Web-Based Training (WBT). Retrieved from http://www.wbtic.com/legal.aspx
William, K. H. (2000). Designing Web-based training: how to teach anyone anything
anywhere anytime. Retrieved from http://books.google.co.th/books?