คลื่น/ลม/ทะเล : จากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติสู่ผลงานจิตรกรรม

Main Article Content

กชพรรณ ไพฑูรย์

บทคัดย่อ

                    การวิจัยเรื่องคลื่น/ลม/ทะเล : จากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติสู่ผลงานจิตรกรรมเป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาและการแสดงออกใหม่ๆเพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุดนี้ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพเกี่ยวข้องเป็นสัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆมนุษย์นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติการที่ได้เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติจึงทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกมีความสุขผ่อนคลายได้ปลดปล่อยพลังงานที่มีอยู่ในตัวเองซึ่งสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้วิจัยที่นำธรรมชาติกับการดำรงชีวิตมาผสมผสานกันรวมทั้งแนวคิดในการนำมาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมกระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษาธรรมชาติทางทะเลได้ศึกษาถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติคลื่นลมและทะเลการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมและองค์ประกอบศิลป์เพื่อค้นหาวิธีการใช้สีที่ผลต่ออารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองที่มีต่อธรรมชาติทางทะเลผนวกกับการศึกษาศิลปินในลัทธิต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมเพื่อศึกษาถึงเทคนิคต่างๆทั้งในเรื่องการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านแสงเงาและสีที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติทางทะเลเมื่อศึกษาแล้วผลวิจัยสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้คือได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบจากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติทางทะเลนำเสนอผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ให้สาธารณชนที่สนใจได้รับชมและเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ชมและสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์ผลงานในแต่ละชิ้นไปพัฒนาและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ในอนาคตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2547). 109 มองพิศ มองผ่าน งานศิลป์. กรุงเทพฯ: พาสเวิร์ด.
จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. (2545). โลกศิลปะศตวรรษที่ 20 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์.
ชวพล จึงสมาน. (2557). เอ็กซเพรสชันนิสม์ (Expressionism).สืบค้น 31 สิงหาคม 2561, จาก
http://worldcivil14.blogspot.com/2014/03/expressionism.html.
ณัฐวรรธน์ ชีพประสานสุข. (2557). ศิลปะแบบโพสต์-อิมเพรสชันมิสม์ (Post-Impressionism).
สืบค้น15 มีนาคม 2561,http://worldcivil14.blogspot.com/2014/04/post-impressionism.html
บุณย์ นิลเกษ. (2523). สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). เชียงใหม่: พิมพ์ที่ฝ่ายผลิตตำราและ เอกสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง. (2541). สุนทรียศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
ไพโรจน์ ชมุนี. (2559). สุนทรียศาสตร์ ตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บริษัทแปลนพริ้นท์ติ้ง จำกัด.
สุวลักษณ์ สาธุมนัสพันธุ์. (2561). การจัดการชายฝั่งบูรณาการสู่ความยั่งยืน(พิมพ์ครั้งที่ 3).นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
Artistic Movement. (2009). POST-IMPRESSIONISM. Retrieved May 23, 2018, from
http://www.designer.co.th/1356