กลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงในสื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

บวรสรรค์ เจี่ยดำรง
จำเริญ คังคะศรี
ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา
อภิวรรณ ศิรินันทนา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงในสื่อสังคมออนไลน์เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวทางการเก็บข้อมูลแบบชาติพันธุ์วรรณนาในโลกออนไลน์ (Netnography) โดยใช้การสังเกตเป็นเครื่องมือในเก็บรวมรวมข้อมูลจากอุตสาหกรรมนมผงจำนวน 6 แบรนด์ ได้แก่ นมผงเอนฟา นมผงไฮคิว นมผงดูเม๊กซ์ นมผงเอส26 นมผงดีจี และนมผงตราหมีที่ทำการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงในสื่อออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก อินสตราแกรม แมสเซนเจอร์ เป็นระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2563 ผลการวิจัยพบว่า อุตสาหกรรมนมผงกำหนดส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ประการ ได้แก่ (1) ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์นมผง (2) ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคานมผง (3) ส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่ายนมผง (4) ส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดนมผง (5) ส่วนประสมทางการตลาดด้านบุคคลสนับสนุนตราสินค้านมผง (6) ส่วนประสมทางการตลาดด้านการออกแบบลักษะทางกายภาพของตราสินค้านมผง และ(7) ส่วนประสมทางการตลาดด้านการออกแบบเส้นทางของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์นมผง สำหรับกลยุทธ์การโฆษณาสำคัญที่ใช้ในสื่อออนไลน์ คือ การโฆษณาแบบย้ำความสนใจ (Re – Marketing) ผ่านเฟซบุ๊ก อินสตราแกรม และแมสเซนเจอร์ และใช้รายการการส่งฟรีเป็นเครื่องมือเสริมให้กระบวนการปิดการขายผลิตภัณฑ์นมผงสมบูรณ์ สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ควรปรับสาระสำคัญของกฎหมายให้เท่าทันและมีประสิทธิภาพในการควบคุมการโฆษณาแบบย้ำความสนใจในสื่อออนไลน์ได้จริง อีกทั้งควรมีการดำเนินการวิจัยในแต่ละส่วนประสมทางการตลาดเชิงลึกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นงนุช ใจชื่น และกัณณพนต์ ภัคดีเศรษฐกุล. (2558). การเปิดรับการสื่อสารการตลาดนมผงกับการเลี้ยง
ลูกด้วยนมผงของหญิงไทย. นนทบุรี : สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
พิมพ์รวินท์ ภัคดีไทย. (2553). การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อนมผงดัดแปลงสำหรับเด็ก
วัย 1-3 ปี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก.
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp. สืบค้นวันที่ 30 พฤษภาคม 2564.
บวรสรรค์ เจี่ยดำรง. (2558). การเฝ้าระวังและติดตามกลยุทธ์การสื่อสารในการส่งเสริมการตลาดนมผง
ในประเทศไทยที่ละเมิดหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
ระหว่างการผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก
และเด็กเล็ก. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
Belch, G. E. & Belch, M. A. (2018). Advertising and Promotion: An Integrated
Marketing Communications Perspective 11ed. McGraw-Hill Education.
Jack Newman & Teresa Pitman.(2014). Dr. Jack Newman’s Guide to Breastfeeding.
London.
Nina J Berry, Sandra Jone & Don Iwerson. (2010). It’s all Formula to me : Women’s
Understandings of Toddler Milk Ads. Breastfeeding Review : Australian Breastfeeding
Association.