การเสริมสร้างความพึงพอใจในชีวิตสมรสด้วยโปรแกรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีกลยุทธ์เป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มี 2 ระยะ ระยะที่ 1 เพื่อพัฒนาแบบวัดความพึงพอใจในชีวิตสมรส และหาเกณฑ์ปกติของแบบวัดความพึงพอใจ
ในชีวิตสมรส ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีกลยุทธ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจในชีวิตสมรส และศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีกลยุทธ์เป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ คู่สมรสที่ได้ทำการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และใช้ชีวิตสมรสร่วมกันมากกว่า 4 ปี ขึ้นไป และมีคะแนน ความพึงพอใจในชีวิตสมรสต่ำกว่าเกณฑ์ปกติในระดับปานกลางลงมาทั้งคู่ คือ มีคะแนนความพึงพอใจในชีวิตสมรสต่ำกว่า 141 คะแนน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) คัดเลือกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คู่ และ กลุ่มควบคุม จำนวน 10 คู่ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความพึงพอใจ ในชีวิตสมรสและโปรแกรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีกลยุทธ์เป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน สองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way repeated measures ANOVA)ผลการวิจัยพบว่า1) แบบวัดความพึงพอใจในชีวิตสมรสที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีจำนวน 40 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .942) เกณฑ์ปกติของแบบวัดความพึงพอใจในชีวิตสมรสในรูปคะแนนทีปกติ (Normalized T-score) ได้แก่ ระดับความพึงพอใจในชีวิตสมรสน้อยที่สุด มีคะแนนน้อยกว่า 109 คะแนน ระดับน้อย 109-140 คะแนน ระดับปานกลาง 141-171 คะแนน ระดับมาก 172-189 คะแนน และระดับมากที่สุด มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 190 คะแนน3) โปรแกรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีกลยุทธ์เป็นฐาน มีทั้งหมด 10 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที4) คู่สมรสที่ได้รับการปรึกษาด้วยโปรแกรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีกลยุทธ์เป็นฐาน มีความพึงพอใจในชีวิตสมรสสูงกว่าคู่สมรสกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ5) คู่สมรสที่ได้รับการปรึกษาด้วยโปรแกรมการปรึกษาคู่สมรสเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีกลยุทธ์เป็นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในชีวิตสมรสในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงขึ้นกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563, 30 มิถุนายน). สถิติการสมรสและการหย่าร้างในรอบ 10 ปี ของประเทศไทย. http://themomentum.co/momentum-feature-divorce-not-fail.
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2559). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2560-2564.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กอบกูน พิชัยณรงค์. (2557). ความเท่าเทียมในบทบาททางเพศ การสื่อสารในครอบครัว และความพึงพอใจชีวิตสมรสของอาสาสมัครสาธารณสุขอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธิรดา สุวัณณะศรี. (2559). การศึกษาและพัฒนาความสุขในชีวิตสมรสด้วยรูปแบบการให้คำปรึกษาคู่สมรสแบบบูรณาการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิศากร เจริญดี. (2561). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2554). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษาครอบครัว. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2560). การปรึกษาครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). แฮมคอมพิว ออฟเซท.
รพีพงค์ ยังวราสวัสดิ์. (2558). รูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสำเร็จในชีวิตสมรสของคู่สมรส. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 10(1), 130-145.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). สุวีริยาสาส์น.
วิไลวรรณ รังสร้อย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความซื่อสัตย์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2556). คู่มือจิตบำบัดและการให้คำปรึกษาแนว Humanistic-Existential-Experiential. ซันต้าการพิมพ์.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper Collins Publishers.
Corey, G. (2015). Theory and practice of counseling and psychotherapy (9th ed.). Calif: BrooksCole.
Goldenberg, L., & Goldenberg, H. (2008). Family therapy: An overview (7th ed.).Brooks/ Cole-Thomson Learning
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activi – ties. Educational and Psychological Mea – surement, 30(2), 607-610.
Lebow, Richard Ned. (2003). The Tragic Vision of Politics. Cambridge: Cambridge University Press.
McNabb, D. E. (2008). Research Methods in Public Administration and Nonprofit Management: Quantitative and Qualitative Approaches. M.E. Sharpe.
Moore, D. (1983). Prepares Children and Marital Satisfaction During the Antepartum And Postpartum Periods. Nursing Research, 32(3), 73-79.
Tavakon, Nasrabadi, Moghadam, Salehiniya & Rezaei. (2017). The Factors Associated with Marital Satisfaction. Galen Medical Journal, 24(1), 197-207.