โครงสร้างการสื่อสารกับกลวิธีการใช้ภาษา กรณีศึกษาการแถลงข่าวของโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด–19

Main Article Content

วรพงศ์ ไชยฤกษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์โครงสร้างการสื่อสารและกลวิธีการใช้ภาษาในการแถลงข่าว จากกรณีการแถลงข่าวของโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด -19 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการวิเคราะห์การสนทนา และแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ คลิปวิดีโอการแถลงข่าวของโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จาก www.thaigov.go.th ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม –19 กรกฎาคม 2563 จำนวน 18 คลิป


ผลการศึกษาโครงสร้างของการสื่อสารในการแถลงข่าวของโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด -19 พบโครงสร้างการสื่อสารในการแถลงข่าว 4 ลำดับ ได้แก่ 1) การเกริ่นนำ 2) การให้ข้อมูล/ชี้แจงรายละเอียด 3) การถามตอบ 4) การยุติการแถลงข่าว ด้านกลวิธีการใช้ภาษาในการแถลงข่าว พบทั้งหมด 4 กลวิธี ดังต่อไปนี้ 1) กลวิธีในการเชื่อมโยงความระหว่างประโยค 2) กลวิธีการแทรกข้อมูลทางการแพทย์ และการวิจัย 3) กลวิธีการแทรกเรื่องเล่าประสบการณ์ส่วนบุคคล 4) กลวิธีการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ สถิติ กราฟ แผนภูมิ และตาราง 5) กลวิธีการใช้ถ้อยคำแสดงความรู้สึก   

Article Details

How to Cite
ไชยฤกษ์ ว. (2022). โครงสร้างการสื่อสารกับกลวิธีการใช้ภาษา กรณีศึกษาการแถลงข่าวของโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด–19. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 74–85. https://doi.org/10.14456/issc.2022.8
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทิมา อังคพณิชกิจ (2554). สหบท: มุมมองใหม่ในการวิเคราะห์ภาษาและวาทกรรม. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์.
29 (2), 1-26.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและ
การนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจมาภรณ์ ภิญโญพรพานิชย์. (2560) แนวทางการสื่อสารเพื่อตอบโต้กับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
กรณีภัยพิบัติธรรมชาติ (น้ำท่วม). กรุงเทพฯ: ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค.
ประไพพรรณ พึ่งฉิม. (2560) ปริจเฉทการแถลงข่าวอื้อฉาวของบุคคลในวงการบันเทิงไทย :
การศึกษาเชิงปริจเฉทวิเคราะห์และวัจนปฏิบัติศาสตร์. ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ วิไลนุช. (2552). การวิเคราะห์การสื่อสารในระหว่างการแถลงข่าว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
หอการค้าไทย. 29 (1), 158-175.
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2557). บทสนทนากับการวิเคราะห์การสนทนาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน.
วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 33(1). 81-97.
Fairclough, N. (1995). Media discourse. London: Edward Arnold.
Fairclough, N. (2010). Critical discourse analysis: The critical study of language (2nded.). New
York: Longman.
Sacks, H., Schegloff, E. A. and Jefferson, G. (1974). A simplest systematics for the organization
of turn-taking for conversation. In: Drew, P. and Heritage, J. (eds.), Conversation Analysis: volume I Turn-Taking and Repair (pp. 1-48). London: Sage Publication.