การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในยุควิถีใหม่ (New Normal)

Main Article Content

ธวัชชัย สุขสีดา
Mon Korcharoen

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีการดำเนินงานวิจัยเป็น 2 ระยะ เริ่มต้นด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการศึกษาผู้ส่งสารและตามด้วยวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในการศึกษาผู้รับสาร 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในยุควิถีใหม่ (New Normal) 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าตราสินค้ากับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในยุควิถีใหม่ (New Normal) โดยมีการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) บุคลากรฝ่ายสื่อสารองค์กรหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนนโยบายการเผยแพร่ข้อมูลทางการตลาดของมหาวิทยาลัยเอกชนที่มียอดนักศึกษาเข้าใหม่สูงสุด 5 อันดับแรก (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2563)  จำนวน 5 ท่าน และเก็บข้อมูลวิจัยเชิงปริมาณโดยแบบสอบถาม (Questionnaire) นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนที่มียอดนักศึกษาเข้าใหม่สูงสุด 5 อันดับแรก จำนวน 400 ชุด ตามสัดส่วนประชากรของมหาวิทยาลัยเอกชนในแต่ละแห่ง ผลการวิจัยพบว่า ในสถานการณ์ COVID-19 ในยุควิถีใหม่ (New Normal) ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีความต่อเนื่องทางธุรกิจในยุคดิจิทัลใหม่ (Business Continuity in a New Digital Era) การนำเสนอข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ เป็นการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านรูปแบบการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขายและการตลาดเชิงกิจกรรม โดยส่งผลต่อผู้รับสารในการตัดสินใจเลือกเรียนต่อในระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มาจากการรับรู้คุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) ของทางสถาบันในด้านตระหนักรู้ในตราสินค้า (Brand Awareness) ด้านการรับรู้คุณภาพ (Perceived Quality) และการเชื่อมโยงต่อตราสินค้า (Brand Associations) ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารที่มีการหาข้อมูลและถามตอบในรูปแบบดิจิทัลตลอดช่วงการเว้นระยะห่างทางสังคม Social Distancing  ในยุควิถีใหม่ (New Normal) นั้นได้จุดประกายให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การสื่อสารทางธุรกิจโดยสิ้นเชิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการศึกษา โดยมีการปรับสมดุลไปสู่กลยุทธ์การตลาดแบบบูรณาการแบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มตลอดจนการดำเนินการจากระยะไกลและเครื่องมือเสมือนจริงจนเกิดเป็น "การตลาดตัวต่อตัวแบบดิจิทัลเสมือนจริง "Virtual Digital Marketing Face to Face” ในการสร้างการรับรู้คุณค่าตราสินค้า (Brand Equity) ในยุควิถีใหม่ (New Normal)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญฤทัย บุญยะเสนาและนปภัช ถิรพัฒน์ธนโภคิน. (2558). การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2543). กลยุทธ์สื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท. (2544). กลยุทธ์สื่อสารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ทิปปิ้ง พอยท์.(2548). IMC & CRM สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.

ชื่นสุมล บุนนาค และ รัชนู สมานวิจิตร. (2560). ความสัมพันธ์ของปัจจัยการตลาดในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษากับคุณค่าตราสินค้า กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 14(1), 106.

เทื้อน ทองแก้ว (2563).การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถึใหม่ (Design- Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19.คุรุสภาวิทยาจารย์.ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (2563)

พนารัตน์ ลิ้ม. (2543). รายงานการวิจัยปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ละอองดาว แก้วดี, สุณีย์ ล่องประเสริฐ, และพิมพ์แพร พุทธิชีวิน. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ,สุราษฏร์ธานี.

วุฒิชัย ผาสุขกานนท์, และประสพชัย พสุนนท์. (2557). การให้คุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. วารสารราชมงคลล้านนา, 1(2), 116-126.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2563). ข้อมูลสถาบันอุดมศึกษา.รายงานจำนวนนักศึกษาทั้งหมดปีการศึกษา 2558-2563 ภาคการเรียนที่ 1 จำแนกตามประเภทสถาบัน/ชื่อสถาบัน/ชื่อคณะ/ชื่อหลักสูตร ระดับการศึกษา และ เพศ. สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2563 จากhttp://www.info.mua.go.th/info/index_user.php.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.สศช. (2562). รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 (ฉบับปรับปรุง). สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2563 ข้อมูลจากhttps://www.dcy.go.th/webnew/ebook/pdf/interest/รายงานการคาด ประมาณประชากรของประชาชนของประเทศไทย_พ.ศ.2553- 2583_(ฉบับปรับปรุง).pdf

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส. (2559). พฤติกรรมการบริโภคและช่องทางการตลาดสำหรับ Generation ต่าง ๆ. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.thaitradeusa.com/home/wpcontent

/uploads/2016/07/TTCLA_MarketReport_Generation_Jun2016.pdf.

สุนันทิกา ปางจุติ. (2552). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการสร้างแบรนด์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อใน

ระดับอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุภัสตรา จันทรา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, กรุงเทพฯ.

สุภาภรณ์ พลนิกร. (2548). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

อรพรรณ ฤทธิ์มั่น. (2561). เด็ก Gen Z. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.moe.go.th/moe/th/news

/detail.php?NewsID=50839&Key=news_Teerakiat.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: capitalizing on the value of a brand name. New York: New York: Free Press.

Culliver, K. (2016). Integrated Marketing and Nontraditional Student Enrollment Decision Making. (Doctoral dissertation). University of La Verne, California.

Keller, K. L. (1993). Conceptualizing, Measuring, and Managing Customer-Based Brand Equity. Journal of Marketing, 57(1), 1-22. (1998). Strategic brand management : building, measuring, and managing brand equity Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.. (2003). Strategic brand management : building, measuring, and managing brand equity (2nd ed.). Upper Saddle River, N.J: Prentice Hall.

Kotler, P., & Kelle, K. L. (2009). Marketing management (13th ed.). Upper Saddle River, N.J.: Pearson Prentice Hall.

Maslow, A. H. (1987). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1997). Consumer behavior (6th ed.). Upper Saddle River,N.J.: Prentice Hall.

Schultz, D. E. (1993). Integrated marketing communications: Maybe definition is in the point of view. Marketing News, 27(2), 17.

Schultz, D. E., & Schultz, H. F. (1998). Transitioning marketing communication into the twenty-first century. Journal of Marketing Communications, 4(1), 9-26.

Simon, C. J., & Sullivan, M. W. (1993). The Measurement and Determinants of Brand Equity: A Financial Approach. Marketing Science, 12(1), 28-52.

Zain, O. M., & Saidu, M. B. (2016). The Customers Satisfaction on Retailers’ Brand Products:A Study on Selected Areas in Klang Valley. Procedia Economics and Finance,35(C), 418-427. doi:10.1016/S2212-5671(16)00052-6.