บทบาทของสตรีที่มีต่อนาฏยศิลป์ไทย

Main Article Content

นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์
สุรพล วิรุฬห์รักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ในการรักษา สืบสาน และต่อยอดกระบวนการรำนาฏยศิลป์ไทยทั้งที่เป็นแบบละครหลวงและแบบร่วมสมัย หรือนาฏยประดิษฐ์ ล้วนขึ้นอยู่กับนาฏยศิลปินทั้งบุรุษและสตรี จากการศึกษาพบว่าในการสืบสานมีนาฏยศิลปินสตรีเป็นกุญแจสายโซ่สำคัญ ที่เชื่อมองค์ความรู้และทักษะทางนาฏยศิลป์ไทย ไม่ว่าจะเป็นนักแสดงหรือนาฏยศิลปิน นักนาฏยประดิษฐ์ ผู้กำกับ นายโรงหรือเจ้าของคณะละคร และครู บทความนี้จึงตั้งใจชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่เป็นความสัมพันธ์กันของบรรดานาฏยศิลปินสตรีที่แม้จะมีผลงานการสร้างสรรค์การแสดงในรูปแบบต่างๆจากนาฏยศิลปินรุ่นใหม่ในปัจจุบันก็ยังสามารถมองเห็นได้ถึงความเป็นนาฏยศิลป์ไทยอย่างที่เคยมีมาในอดีต


 


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. (2521). ประวัติผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ. กรมศิลปากร.
เฉลย ศุขะวณิช. (2544). อนุสรณ์เนื่องในพิธีพระราชทานเพลิงศพ. บพิธการพิมพ์.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2546). ละครฟ้อนรำ, มติชน.
เทศ นัฏกานุรักษ์.(2511) อนุสรณ์ในงานพระราชเพลิงศพ คุณหญิงเทศ นัฏกานุรักษ์. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/digital/api/DownloadDigitalFile/dowload/3645
ธนิต อยู่โพธิ์. (2507) "คำนำ" . ภาพบางตอนจากหนังสือตำราฟ้อนรำ ฉบับเรียบเรียงในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร. และเรื่อง "สุขที่ไหน" ของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี). โรงพิมพ์พระจันทร์.
นงค์นุช ไพรพิบูลย์กิจ. (2541). ลิเก. เอส.ที.พี.เวิลด์ มีเดีย.
ปรเมษฐ์ บุณยะชัย. (2543) ละครวังสวนกุหลาบ, กรมศิลปากร.
ภาณิศา ภูวภิรมย์ขวัญ. (2551). ความคิด ชีวิต ตัวตน ภัทราวดี ตอน เด็กหญิง ณ ริมน้ำ, ฟรีมายด์.
มณิศา วศินารมณ์. (2549). นาฏยประดิษฐของเจ้าจอมมารดาเขียน. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต] Chulalongkorn University Intellectual Repository. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8552
รจนา สุนทรานนท์. (2549). นามานุกรมนาฎยศิลปิน : การศึกษาการสืบทอดนาฏยศิลป์สู่กรมศิลปากร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต] Chulalongkorn University Intellectual Repository. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14697
ลมุล ยมะคุปต์. (2548). คุณานุสรณ์ครบรอบ 100 ปี ลมุล ยมะคุปต์. กรุงเทพฯ: คณะศิษยานุศิษย์.
วิกิพีเดีย. (2564) "หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง". https://th.wikipedia.org/wiki/หม่อมราชวงศ์อรฉัตร_ซองทอง
สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย (2551) “สักวากลอนสดเรื่อง กากี ตอน ถูกลอยแพ". http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538703501&Ntype=5
สุรพล วิรุฬหรักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล วิรุฬหรักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.