พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ ส่วนประสมทางการตลาดและตราสินค้า ที่มีผลต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำตาลโตนดแบบผงสำหรับกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนด บ้านคลองฉนวน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดแบบผงของกลุ่มอาชีพ ผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดบ้านคลองฉนวน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2.เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดและตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดแบบผงของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดบ้านคลองฉนวน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคน้ำตาลโตนดแบบผงกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดบ้านคลองฉนวนอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 4) เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์น้ำตาลโตนดแบบผงสำหรับกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดบ้านคลองฉนวน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่จำนวน 345 คน เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำตาลโตนดแบบผง โดยวิธีทดสอบของไคสแควร์ (Chi-square) และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Crosstabulation) แจกแจงความถี่ (Frequency) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความถี่ในการซื้อเดือนละครั้ง ช่องทางในการซื้อคือร้านวิสาหกิจชุมชนมีวัตถุประสงค์ในการซื้อทานเอง ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลในการซื้อ แหล่งข้อมูลในการตัดสินใจซื้อคือครอบครัว และลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการเป็นแบบกระปุกปริมาณ 300 กรัม ส่วนประสมทางการตลาดและตราสินค้า ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้านข้อมูลของตราสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.35 และพบว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ที่ตัดสินใจซื้อมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำตาลโตนดแบบผง อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำตาลโตนดแบบผง ด้านลักษณะ ของบรรจุภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ น้ำตาลโตนดแบบผง ด้านช่องทางและปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ชัยรัตน์ อัศวรางกูล. (2548). คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ.กรุงเทพ ฯ : สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
ณัฐกานต์ สุวรรณธารา. (2559). ตราสินค้าในยุค 2016. สืบค้นจาก http://nattakarn-mk.blogspot.com/2016/04/blog-post.html .
ธัญลักษณ์ ใจเที่ยง. (2557).ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์. สืบค้นจากhttps://sites.google.com/site/thanyalak12557/khwam-hmay-khxng-
นพวรรณ ชีวอารี. (2555). การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปเพื่อส่งเสริมการขายกรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม. (ปริญญานิพนธ์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ
นวพร สุคัมภีรานนท์. (2550). การใช้ความรู้การรู้จัก และภาพลักษณ์ตราสินค้าในการสร้างคุณค่าตราสินค้าเครื่องสำอางชั้นนำ ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประชิด ทิณบุตร. (2559). ความสำคัญของการบรรจุภัณฑ์. สืบค้นจาก http://creativekanchanaburi.blogspot.com/2012/06/blog-post.html.
ปุ่น คงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพฯ : หยี่เฮง จำกัด.
พัณธิตรา แก้วมา. (2556). พฤติกรรมการเลือกซื้อแว่นตาของผู้บริโภคในเขตบางรักกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, สาขาวิชาการตลาด.
ราช ศิริวัฒน์. 2560. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค. สืบค้นจาก https://doctemple.wordpress.com/2017/01/25/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8% 88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%8 8%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%9 8%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A D%E0%B8%81/
ลัดดา โศภนรัตน์. (2546).อิทธิพลของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชาการโฆษณา
วิภาดา พงศ์พุทธิพูน. (2553) รูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการซื้อสินค้าแฟชั่นทางออนไลน์และออฟไลน์. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สาขาการ
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ธีระฟิล์มและไซแล็กซ์จำกัด.
ศุภาสินี บุญทำดี. (2553). กลยุทธ์ทางกาตลาดของผู้ประกอบการแพเธค ในจังหวัดกาญจนบุรี.(วิทยานิพนธ์) มหาวิทยาลัยศิลปกร, สาขาวิชาการประกอบการ,
สมพงษ์ เฟื่องอารมณ์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักส์.
เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุล. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคกับธุรกิจค้าปลีก กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด.
Sproles, G. B. & Kendall, E. L. (1986). A Methodology for Profiling Consumers’ Decision-Making Styles. The Journal of Consumer Affair, 20(2)