แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

ธันวดี ดอนวิเศษ
ปวริศา จรดล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักศึกษาครู และหาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 345 คน จากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม ส่วนแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักศึกษาครูใช้วิธีการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน และวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบการสนทนากลุ่มผลการวิจัยพบว่า สภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางสังคม คุณภาพทางการเรียนการสอน และการจัดการกับเวลา ตามลำดับ และแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักศึกษาครู ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนของครอบครัวเพื่อให้นักศึกษามีพฤติกรรมการเรียนที่ดี 2) การมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนที่เหมาะสมและเพียงพอ 3) การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning 4) การสนับสนุนของเพื่อนและรุ่นพี่ในหลักสูตรที่เรียน  และ 5) การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมแรงบันดาลใจและพลังทางบวกให้กับนักศึกษา

Article Details

How to Cite
ดอนวิเศษ ธ., & จรดล ป. (2023). แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(1), 116–126. https://doi.org/10.14456/issc.2023.11
บท
บทความวิจัย

References

ชำนาญ ด่านคำ และคณะ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราช

ภัฏมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พเยาว์ ดีใจ และคณะ (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันตามความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พันศักดิ์ พลสารัมย์. (2557). การปฏิรูปการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา: การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี. การวิจัยเอกสาร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัควดี ปรีชาประพาฬวงศ์ (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูของครอบครัว การเห็น คุณค่าในตนเองวิธีการเผชิญปัญหาและพฤติกรรมก้าวร้าวของเยาวชนชายในศูนย์ฝึก และอบรมเด็กและเยาวชนเขต 3 นครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรชัย พุทธรักษ์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่าง สัมพันธภาพในครอบครัว กับ ความคาดหวัง ความวิตกกังวลในการเรียน และการเผชิญปัญหาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. รายงานวิจัย.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สาวิตรี โรจนะสมิต. (2555). การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาพฤติกรรม

การเรียนรู้ และแนวคิดเหี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2550). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Hake, R. (1998). Interactive-Engagement vs. Traditional Methods: A Six-Thousand-Student Survey of Mechanics Test Data for Introductory Physics Courses. American Journal of Physics, 66(1), 64-74.

Weinstein C.E, Schulte A.C, and Palmer, D.P. (2002). Learning and Study Strategies Inventory (LASSI) (2sd ed). H & H Publishing Company,Inc.

Yamane,T. (1970). Statistic : Introductory Analysis (2nd ed). Harper and Row.