การวิเคราะห์ การเล่าเรื่องภาพยนตร์แนวสยองขวัญ ของผู้กำกับโสภณ ศักดาพิศิษฏ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องในภาพยนตร์แนวสยองขวัญ และการกำกับภาพยนตร์แนวสยองขวัญของผู้กำกับโสภณ ศักดาพิศิษฏ์ โดยมุ่งที่จะทำการวิเคราะห์ด้านการสร้างความสยองขวัญในการเล่าเรื่อง ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท จากภาพยนตร์ทั้ง 4 เรื่อง ได้แก่ โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต, ลัดดาแลนด์, ฝากไว้..ในกายเธอ, เพื่อน..ที่ระลึก และด้าน การกำกับภาพยนตร์แนวสยองขวัญ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับคุณโสภณ ศักดาพิศิษฏ์
ผลการวิเคราะห์พบว่า ภาพยนตร์ทั้ง 4 เรื่อง มีการเล่าเรื่องจากพื้นฐาน “ความกลัว” ที่นำมาพัฒนาเป็นบทภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นแก่นเรื่องที่นำมาเกี่ยวข้องกับความกลัวได้ หรือการนำเสนอความสยองขวัญในภาพยนตร์ จากเหตุผลทางจิตวิทยา คือ “ความไม่รู้” ในภาวะลุ้นระทึก ในสถานการณ์ที่ผู้ชมและตัวละคร รับรู้และคาดเดาได้ว่าจะมีการปรากฏตัวของผี แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ หรือที่ไหน ซึ่งผู้ชมจะเกิดการลุ้นระทึกจากความกลัว และด้วยเหตุนี้ทำให้คุณโสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ที่ต้องการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ จึงได้ออกแบบตัวละครผีที่ “ไม่มีตัวละครผีปรากฏให้เห็น” เป็นการทำให้ผู้ชมสัมผัสกับความสยองขวัญ ที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของภาพและเสียง และความกลัวจากความไม่รู้ ว่าจะมีสิ่งใดปรากฏขึ้นในภาพยนตร์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). ภาพยนตร์กับการประกอบสร้าง สังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์ และชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2548). เรื่องเล่า (Narrative) และศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง (Narratology). นิเทศศาสตรปริทัศน์. ปีที่ 9 (ฉบับที่ 1). หน้า 42.
ทศพร กรกิจ. (2550). การสร้างความน่าสะพรึงกลัวใน "หนังผี" อเมริกัน เกาหลี และไทย. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปกรณ์ พรหมวิทักษ์. (2555). การกำกับภาพยนตร์ Film directing. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์. (2555). เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 8-5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระมหาศุภวัฒน์ ชุติมนฺโต (สุขดํา). (2548), การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่อง พฤติกรรมของมนุษย์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท กับ ซิกมันด์ฟรอยด์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย.
รุจิเรข คชรัตน์. (2542). ภาพและกระบวนการสร้างภาพชายรักร่วมเพศในละครโทรทัศน์ไทย กับการรับรู้ภาพแบบฉบับของผู้ชม. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนึ่งเดียว. (2552). ร้อยภูติ พันวิญญาณ ตำนานหนังผีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: Popcorn.
Albrecht, K. (2550). Practical Intelligence : The Art and Science of Common Sense. New York: John Wiley and Sons, Inc.