พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กันคพงศ์ คุ้มโนนชัย
อธิป จันทร์สุริย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม และ  3) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามที่ใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 21  – 30 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพค้าขายและธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 8,000,000 ดอง (น้อยกว่า 10,000 บาท) 2) ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามพบว่า ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามเลือกเดินทางท่องเที่ยวที่ประตูน้ำ ลักษณะการเดินทางคือท่องเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน ใช้ช่วงเวลาวันหยุดพักร้อนประจำปีในการเดินทางท่องเที่ยว งบประมาณใช้จ่ายเฉลี่ยนต่อวันน้อยกว่า 5,000 บาท ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยว 1 – 5 วัน ส่วนใหญ่เข้าพักแรมที่โรงแรม สนใจกิจกรรมการท่องเที่ยวทางศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ทราบข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต และจะกลับมาท่องเที่ยวประเทศไทยซ้ำอีก ด้านส่วนประสมทางการตลาดด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ และ ด้านกระบวนการ ตามลำดับ 3) การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวพบว่า อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ อายุ สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 การเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกันมีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพที่ต่างกันมีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
คุ้มโนนชัย ก., & จันทร์สุริย์ อ. (2022). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวชาวเวียดนามใช้ในการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 165–172. https://doi.org/10.14456/issc.2022.35
บท
บทความวิจัย

References

กนก บุญศักดิ์ และคณะ. (2561). อิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวบนฐานชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาปีที่, 12(1), 10-28.

กองวิจัยการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). บทสรุปผู้บริหารโครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มประเทศอาเซียนปี พ.ศ. 2556. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://etatjournal.files.wordpress.com/2014/02/asean_market.pdf

กนิฏฐา เกิดฤทธิ์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวถนนคนเดิน จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(3), 74-83.

กาญจนา โชคเหรียญสุขชัย. (2560). กระบวนการเปิดรับข่าวสารและความต้องการ เข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมไทยสากลของกลุ่มประเทศ CLMV. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 13(2), 141-160.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยปี 2560 (จำนวนยอดสะสมเบื้องต้น). สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=414

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2560 (ประเทศ).

สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=504

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ.ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดุษฎี เทียมเทศ บุญมา สูงทรง สุพรรณี และพรภักดี ปุริหนุนนัด. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวใน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และพรภัทรวดี วงศ์ปันทะนัน. (2557). จิตวิทยาและคุณภาพบริการท่องเที่ยว. หจก. เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.

พิสิฐ อำนวยเงินตรา. (2560). ทำไมคนเวียดนามชอบมาเที่ยวเมืองไทย. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2564. จาก

http://www.komchadluek.net/news/agricultural/287544.

รจิต คงหาญ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพบริการธุรกิจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงอายุ เขตอันดามัน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(พิเศษ), 18-30.

รุ่งกานต์ แก้วเจริญ สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ สุพิศ ฤทธิ์แก้ว จินตนีย์ รู้ซื่อ และญาณินี ทรงขจร. (2562). แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีต่อการร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้ เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(3), 143-163.

วัชรวิชญ์ วิยาภรณ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพทางการตลาดจากการท่องเที่ยวแบบจับจ่ายใช้สอยอย่างยั่งยืนของนักท่องเที่ยวชาวจีนในกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(1), 72-84.

หลิว ซี. (2560). ปัจจัยการเลือกแอพพลิเคชั่นจองที่พักออนไลน์ของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว.

Goeldner, C.R. and Ritchie, J.R. B. (2006). Tourism: Principles, Practices, Philosophies. 10th ed. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

March, R. and Woodside, A.G. (2005). Tourism Behaviour: Travellers’ Decisions and Actions. Wallingfor, UK: CABI Publishing

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publications.

Visa Global Travel Intentions. (2017). Vietnamese travelers take the most shorts trips in the world, according to Visa Global Travel Intentions (GTI) Survey. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2564. จาก

https://www.visa.com.vn/en_VN/about-visa/newsroom/press-releases/vietnamese-travelers-take-the-most-shorts-trips-in-the-world-according-to-visa-global-travel-intentions-survey.html