คุณภาพการสอบบัญชี อัตราส่วนหนี้สิน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ที่มีผลต่อการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

วราภรณ์ ครองบุญ
กุสุมา ดำพิทักษ์

บทคัดย่อ

              บทความวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลการวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพการสอบบัญชี อัตราส่วนหนี้สิน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ที่ส่งผลต่อการจัดการกำไร บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยการจัดการกำไรวัดจากรายการคงค้างที่คำนวณจากแบบจำลอง Modified Jones และวัดคุณภาพการสอบบัญชี จากขนาดของสำนักงานสอบบัญชี ระยะเวลาการสอบบัญชี และค่าสอบบัญชี ด้านอัตราส่วนหนี้สิน ใช้ อัตราส่วนหนี้สินจากสถาบันการเงินต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ใช่สถาบันการเงินต่อสินทรัพย์รวม นอกจากนี้ยังมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน เก็บรวมรวมข้อมูลจากงบการเงิน และแบบ 56-1 ปี พ.ศ. 2562 จากบริษัทจดทะเบียนจำนวนทั้งสิ้น 343 บริษัท ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจะประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 


               ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนหนี้สินจากสถาบันการเงิน อัตราส่วนหนี้สินที่ใม่ใช่สถาบันการเงิน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการจัดการกำไร ขนาดสำนักงานสอบบัญชี ระยะเวลาการสอบบัญชี และค่าสอบบัญชี ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

How to Cite
ครองบุญ ว., & ดำพิทักษ์ ก. (2022). คุณภาพการสอบบัญชี อัตราส่วนหนี้สิน และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ที่มีผลต่อการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 86–96. https://doi.org/10.14456/issc.2022.9
บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา จุฬาวิทยานุกูล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกำไรกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน,3, (2) ,41-61.

ณัฏฐธิดา จินมอญ. (2559). ความเป็นมืออาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผ้สอบบัญชีรับอนุญาติแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ณัฐณิชา ฟูเฟื่องสมบัติ. (2559). คุณภาพงานสอบบัญชีและการตกแต่งกำไร. (สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563).ข้อมูลงบการเงินบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/th/company/companylist.html.

ทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ และ มยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนของผู้บริหารกับการจัดการกำไร: กรณีศึกษาบริษัทในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9 ,(19) ,146-157.

ธันยกร จันทร์สาส์น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สินและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ของประเทศไทย, BU Academic Review ,14, (1),71-87.

ปิยะณัฐ ถุนพุทธดม , ภัทรภร กินิพันธ์ และ สัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน. (2562). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการจัดการกำไรในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ,วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี ,13 ,(3) ,45-157.

ยุวดี วงค์แวงน้อย และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2563). ผลกระทบของกระแสเงินสดและคุณภาพงานสอบบัญชีที่มีต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5 (8),175-195.

Abbott, L.J., Parker, S. and Peters, G.F. (2006). Earnings Management, Litigation Risk, and Asymmetric Audit Fee Responses. Auditing : A Journal of Practice & Theory,25(1), 85-98.

Alok Ghosh & Doocheol Moon. (2010). Corporate Debt Financing and Earnings Quality. Journal of Business Finance and Accounting, 37(5-6), 538–559.

Becker, C.L., Defond, M.L., Jiambalvo, J. and Subramanyam, K. (1998), The Effect of Audit Quality on Earnings Management. Contemporary Accounting Research,15(1), 1-24.

Dechow, P.M., Sloan, R.G., & Sweeney, A.P. (1995). Detecting Earnings Management. The Accounting Review, 70(2), 193-225.

Ferdinand A. Gul, Charles J.P.Chen and Judy S.L.Tsuj. (2003). Discretionary Accounting Accruals, Managers’ Incentive, and Audit fees. Contemporary Accounting Research,20(3), 441-464.

Gopal G. Krishnan. (2003). Does Big 6 Auditor Industry Expertise Constrain Earnings Management?. Accounting Horizons Supplenment . 1-16.

Idris Ibrahim, Hussaini Bala and Jamila Garba (2015). Impact of Earnings Management on Dividend Policy of Listed Non-Financial Companies in Nigeria. Accounting Frontier (the Official. Journal of Nigerian Accounting Association), 17(2), 1-15.

James N. Myers, Linda A. Myers and Thomas C. Omer. (2003). Exploring the Term of the Audit-Client Relationship and the Quality of Earnings: A Case for Mandatory Auditor Rotation? The Accounting Review, 78(3),779-799.

Jennifer J.Jones. (1991). Earnings Management During Import Relief Investigations. Journal of Accounting Research, 29(2), 193–228.

Liu, J., Uchida, K., & Gao, R.(2011) Capital Stricture and Earnings Management of IPO companies :evidence from China. Paper Presented at the 19th Conference on the Theories and Practices of Securities and Financial Markets, Taiwan, 9-10.

Paul M. Healy and James M. Wahlen. (1999). A review of the Earning Management Literature and Its Implications for Standard setting. Accounting Horizons, 13(4), 365-383.

Sarah Yasser & Mohamed Soliman. (2018). The effect of Audit Quality on Earnings Management in Developing Countries: The Case of Egypt. International Research Journal of Applied Finance, 9(4), 216-231.