การแปรของระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดพัทลุงตามปัจจัยทางสังคมด้านอายุ

Main Article Content

ปวเรศ วงศ์ฤคเวช
จอมขวัญ สุทธินนท์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรของระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดพัทลุง ตามปัจจัยทางสังคมด้านอายุ โดยวิเคราะห์เสียงวรรณยุกต์ ด้วยแนวกลสัทศาสตร์ (acoustic phonetics) จากผู้บอกภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดพัทลุง 3 กลุ่มวัย ได้แก่ กลุ่มวัยสูงอายุ กลุ่มวัยกลางคน และกลุ่มวัยรุ่น ผลการวิจัยพบว่า ระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดพัทลุง เกิดการแปรตามปัจจัยทางสังคมด้านอายุ โดยพบรูปแปรของระบบเสียงวรรณยุกต์ 5 รูปแปร ได้แก่ (1) ระบบเสียงวรรณยุกต์ 7 หน่วยเสียงดั้งเดิม (2) ระบบเสียงวรรณยุกต์ 7 หน่วยเสียง (B1=C4) (3) ระบบเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง (B4=C4) (4) ระบบเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง (B1=B4=C4) และ (5) ระบบเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง (B1=B4=DL4=C4) ซึ่งผู้บอกภาษากลุ่มวัยสูงอายุยังคงใช้ระบบเสียงวรรณยุกต์ 7 หน่วยเสียงดั้งเดิมทั้งหมด ผู้บอกภาษากลุ่มวัยกลางคนใช้รูปแปรของระบบเสียงวรรณยุกต์ 3 รูปแปร ได้แก่ (1) ระบบเสียงวรรณยุกต์ 7 หน่วยเสียงดั้งเดิม (2) ระบบเสียงวรรณยุกต์ 7 หน่วยเสียง (B1=C4) และ (3) ระบบเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง (B4=C4) และผู้บอกภาษากลุ่มวัยรุ่นใช้รูปแปรของระบบเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 รูปแปร แสดงให้เห็นแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดพัทลุงจากระบบเสียงวรรณยุกต์ 7 หน่วยเสียง เป็นระบบเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้แก่ ธรรมชาติของภาษาและการสัมผัสภาษา

Article Details

How to Cite
วงศ์ฤคเวช ป., & สุทธินนท์ จ. (2022). การแปรของระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดพัทลุงตามปัจจัยทางสังคมด้านอายุ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 122–136. https://doi.org/10.14456/issc.2022.12
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา นาคสกุล. (2559). ระบบเสียงภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา ติงศภัทิย์, ม.ร.ว. (2542). หน่วยที่ 2 เสียงภาษาไทย. เอกสารการสอนชุด วิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 1-6. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมธิราช.
_______. (2545). หน่วยที่ 15 ภาษาและภาษาย่อยในประเทศไทย. เอกสารการสอนชุด วิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 7-15. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
จระพันธ์ แก้วชนะ. (2530). ภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา, สาขาวิชาภาษาไทย.
ฉันทัส ทองช่วย. (2528). “ภาษาไทยถิ่นพัทลุง” ใน 80 ปี โรงเรียนพัทลุง. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
ธีระพันธ์ ล. ทองคำ. (2554). เสียงภาษาไทย: การศึกษาทางกลสัทศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชฎาภรณ์ ผลยะฤทธิ์. (2558). การแปรเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดสงขลาตามตัวแปรอายุและถิ่นที่อยู่ของผู้พูด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
มหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาศาสตร์.
วิภาวี รัตนานุกูล และจอมขวัญ สุทธินนท์ (2562). เสียงแปรของพยัญชนะต้นเดี่ยวในคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้ตามปัจจัยสังคมด้านอายุ ในพื้นที่เทือกเขาบรรทัด อำเภอกงหรา
จังหวัดพัทลุง. ใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะศิลปศาสตร์, เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติด้านศิลปศาสตร์ครั้งที่4: ศาสตร์บูรณางานวิจัยเพื่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (4th Liberal ArtsNational Conference Integrated Disciplines and Research for Sustainable Development (LAC2019)) (น. 409–418). สงขลา:
ผู้แต่ง.
ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์. (2558). วรรณยุกต์ในคำพูดเดี่ยวและอิทธิพลของวรรณยุกต์ที่มีต่อกันในคำพูดต่อเนื่องภาษาปะโอ. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
คณะอักษรศาสตร์, สาขาภาษาศาสตร์.
สถาบันภาษาไทย (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 4: วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย; ประคอง นิมมานเหมินท์ และคณะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานจังหวัดพัทลุง. (2562). ข้อมูลจังหวัดพัทลุง 2562. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
สุจิน แก้วกลม. (2538). ศึกษาการแปรของการออกเสียงหน่วยพยัญชนะต้นระเบิดไม่ก้องมีลมของ ผู้พูดภาษาถิ่นพัทลุงที่มีอายุต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาภาษาไทย.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และคณะ. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาไทยในสังคมไทย: ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2550). ภาษาศาสตร์สังคม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gedney, William J. (1972). A Checklist for Deternining Tones in Tai dialects. In Studies in Linguistics in Honor of George L. Trager. The Hague: Moutan.
Labov, William A. (1972). Sociolinguistic patterns. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.