แนวทางการจัดการการใช้งานระบบ SAPในโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการยอมรับของพนักงาน

Main Article Content

ชริณทร์ฉัตร ตั้งอำไพสกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางการจัดการการใช้งานระบบ SAP ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ส่งผลต่อการยอมรับของพนักงาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากประชากรกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานผู้ใช้งานระบบ SAP ของโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 170 คน โดยสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ ใช้สถิติเชิงพรรณนา อธิบายค่าความถี่ ค่าร้อยละ และใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว ด้วยวิธีเปรียบเทียบเชิงซ้อนที่มีเงื่อนไขในลำดับถัดไป เพื่อหาค่าความแตกต่างทางสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยพหุ วิธีคัดเลือกแบบขั้นตอน เพื่อทดสอบสมมติฐานของงานวิจัยในรูปของการทำนายตัวแปร ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ จากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานะรบบ SAP ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 54.7 กลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26-33 ปี ระดับการศึกษาของพนักงานส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท ตำแหน่งงานที่รับผิดชอบส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ (ระดับปฏิบัติการ) โดยส่วนมากมีประสบการณ์ในการใช้งานระบบ SAP มาแล้ว 1-2 ปี จากผลการสำรวจส่วนใหญ่ทำงานอยู่ใน ฝ่ายบริหาร / สำนักงาน / บัญชีการเงิน ส่วนแนวทางการจัดการการใช้งานระบบ SAP ที่ส่งผลต่อการยอมรับของพนักงาน พบว่า แนวทางการจัดการด้านค่าตอบแทนมีอิทธิพลต่อการยอมรับสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการให้คำแนะนำปรึกษาที่ดีเชื่อถือได้ ด้านความสำเร็จ และด้านการกำหนดเป้าหมายงานที่ชัดเจน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รายการอ้างอิง
จิรัสย์ สิรินิวัฒน์กุล. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ SAP ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ : กรณีศึกษา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เอกสารสนเทศ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธวัชชัย สมตระกูล. (2557). ระบบบริหารค่าตอบแทนของพนักงานธุรกิจดูแลรักษารถยนต์ที่มีผลต่อเป้าหมาย รายได้ของธุรกิจ. คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพฯ.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). รเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. ราชภัฎอุบลราชธานี.
เปรมกมล หงษ์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสยาม.
ภัทรดนัย พิริยะธนภัทร. (2558). การศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยด้านเว็บไซต์พระเครื่องพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าหรือประมูลพระเครื่องออนไลน์ (E-Commerce). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภานุพงศ์ เสกทวีลาภ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจด้านพฤติกรรมการใช้ Cloud Storage ในระดับ Software-as-a-Service (SaaS)ของพนักงานองค์กรเอกชัน ในเขตพื้นที่เศษรฐกิจของกรุงเทพมหานคร.
ลลิสา พิมพ์พงษ์. (2553). การใช้งานระบบ System Application Program (SAP) เพื่อการจัดซื้อของกองพัสดุและจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประสาสน์. (2545). ระเบียบวิธีวิจัย. สำนักพิมพ์ พิมพ์ดีการพิมพ์.
อิทธิพล โพธิ์ทองคำ. (2554). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการจัดการของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
เอกลักษณ์ ธนเจริญพิศาล. (2554). ความตระหนักการยอมรับการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาใช้ในองค์การภาครัฐ : กรณีศึกษาสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.