ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พิเชษฐ อุดมสมัคร
เขมรินทร์ ชูประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ ประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบปรับตัว วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ วัฒนธรรมแบบเครือญาติ วัฒนธรรมแบบราชการ และ 2. ศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจ ประกอบด้วย ความสำเร็จในการทำงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน การยอมรับนับถือ ความรับผิดชอบ ลักษณะงานที่ทำ ที่มีต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของอุตสาหกรรมอาหาร ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้จากการเก็บข้อมูลจากพนักงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร 44 บริษัท ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวนทั้งหมด 400 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้นี้ จะได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยวิธีการของครอนบัคที่ระดับ 0.738 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใชโปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอข้อมูลด้วย จำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในทิศทางเชิงบวก ได้แก่ วัฒนธรรมการปรับตัว และวัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ และปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในทิศทางเชิงบวก ได้แก่ แรงจูงใจในการทำงานด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน การยอมรับนับถือ และความรับผิดชอบ


ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมองค์การและการสร้างแรงจูงใจในการทำงานส่งผลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญและหาวิธีการที่จะสนับสนุนและพัฒนาในเรื่องวัฒนธรรมองค์การและวิธีการที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับองค์การ เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการบริหารคุณภาพโดยรวมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2559, 9 เมษายน). อุตสาหกรรมเป้าหมายของบีโอไอ. https://www.boi.go.th/upload/content/BOI_Feb59_18000.pdf

คุณัญญา สัจจวีระกุล และ การุณ พงศ์ศาสตร์. (2561). วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร กรณีศึกษาผู้แทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 12(1), 1-10.

นรินทร์ จันทน์หอม. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินสาขาในสังกัดธนาคารออมสินเขตกาฬสินธุ์. วารสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(1), 1-10.

สุดารัตน์ คงสม. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของผู้ประกอบการขององค์การในการนำเอาระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ [TQM] เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ในนิคมอุสาหกรรมอมตะนคร. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สำนักงานสถิติจังหวัดสมุทรปราการ. (2562, 16 พฤษภาคม). สถิติอุตสาหกรรมการผลิต. http://smprakan.nso.go.th/

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2562, 3 มิถุนายน). ทิศทางและนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สำคัญ. http://www.oie.go.th

Dean, J. W. and Bowen, D. E. (1994). Management Theory and Total Quality: Improving Research and Practice through Theory Development. The Academy of Management Review. 19(3), 392-418.

Eugenia, N. (2010). Quality Improvement in a Global Competitive Marketplace Success Story from Nigeria. International journal of business and management. 5(1), 211-218.

Garcia-Bernal, J. et al. (2009). Total Quality Management in Firms: Evidence from Spain. The Total Quality Management Journal. 11(3), 20-34.

Richard L Daft. (2010). Organization Theory and Design. (10th ed.). Australia, Thomson: South-Western.

Rudzki, R. A. (2004). The Adventages of Partnering Well. Supply Chaing Management Review. 8(2), 44–51.